ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานสัมมนาโต๊ะกลม "ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง?" จัดขึ้นเพื่อฟังมุมมองต่อร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570) และกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่าสอดคล้องกับเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนตามที่ระบุไว้อย่างไร รวมทั้งร่วมกันพูดคุยโดยภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาควิชาการ ประชาสังคม ภาคนิติบัญญัติเกี่ยวกับข้อเสนอในการออกแบบ ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาประเทศเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและรับรองสิทธิของคนทุกกลุ่มในสังคม ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 นี้ ชี้ให้เห็นชัดถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาลึกซึ้งยาวนาน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือรอยแยกทางนโยบายทางการเมือง อีกทั้งปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น การพัฒนาโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องถกเถียงอย่างจริงจัง ในการนี้งานสัมมนารวมเอาผู้มากประสบการณ์ รวมถึงนักคิดรุ่นใหม่ ร่วมกันมองแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 นี้ อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นี้ สภาพัฒน์ฯได้สรุปใจความหลักที่เน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลง (Transformation) และการลดความเปราะบางทางสังคม โดยกำหนดยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบ 4 ด้าน ดังนี้ คือเศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (SDG เป้าหมายที่ 1, 3, 4, 5 และ 6) วิถีชีวิตที่ยั่งยืน (SDG เป้าหมายที่ 10 และ 11) ปัจจัยสนับสนุนการพลิกโฉมประเทศ (SDG เป้าหมายที่ 12 และ 13) และสังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค (SDG เป้าหมายที่ 7, 8 และ 9) อย่างไรก็ดี ยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้งฉบับที่ 12 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และร่างฉบับที่ 13 ที่กำลังพัฒนาขึ้น ที่จำเป็นต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนำไปสู่ข้อคำถามสำคัญที่ว่า ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาฯ เหล่านี้ สามารถขับเคลื่อนทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลังได้จริงหรือไม่? คำถามเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ผู้ร่วมเสวนาครั้งนี้ได้นำเอาประสบการณก์ ารทำงานเชิงประเด็นมาร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมกันถกในประเด็นดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์