การศึกษาความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนตามความคิดเห็นของประชาชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนดอนยางตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนดอนยาง เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนดอนยาง จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากร และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการจัดการป่าชุมชนดอนยาง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าชุมชนดอนยาง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหัวขวา หมู่ที่ 8 และ 12 และบ้านหัวหนอง หมู่ที่ 11 จำนวน 170 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test (Independent samples) และ F-test (One way analysis of variance) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่มีความสำคัญในการจัดการป่าชุมชนดอนยางโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านการพัฒนา ด้านการอนุรักษ์ ด้านการฟื้นฟู และด้านการควบคุมดูแล โดยประชาชนที่มีคุณลักษณะทางประชากรและระยะเวลาในการตั้งครัวเรือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อความสำคัญของปัจจัยโดยรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาอุปสรรค คือ ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความสนใจและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่า

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมป่าไม้. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี พ.ศ. 2565.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. สามลดา.

ชัยยศ จินารัตน์. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชนกรณีศึกษา: จังหวัดยโสธร และร้อยเอ็ด. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติเรื่องคุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2562 อุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.

ณัฐชยา พุ่มพฤกษ์ และคณะ. (2559). ความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนตามความคิดเห็นของประชาชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านห้วยหินพัฒนา ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิตยา เชื้อโชติ. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนดอนชี บ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ ด่านกุลประเสริฐ. (2551). ปัจจัยที่มีความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าชุมชน ป่าโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปัญญา บุตะกะ. (2552). การศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยในการจัดการป่าชุมชนตามความคิดเห็นของประชาชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนดอนเจ้าปู่ ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากูล. (2561). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2565). สถานการณ์ป่าไม้ไทย 2565. https://www.seub.or.th/tag/สถานการณ์ป่าไม้ไทย

สุกัญญา หมู่เย็น และคณะ. (2559). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์ไม้ริมคลองเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชนริมคลอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัยใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน. วิทยาลัยนครราชสีมา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570).

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.