ความคิดทางการเมืองของ จิตร ภูมิศักดิ์

Main Article Content

ฒาลัศมา จุลเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษาความคิดทางการเมืองของจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กรอบวิเคราะห์การศึกษาประวัติความคิดทางการเมืองของ ควอนติน สกินเนอร์ (Quentin Skinner) เพื่อเข้าใจความคิดของนักคิดคนหนึ่งอย่างถ่องแท้ จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจควบคู่กันไปทั้งตัวบทที่เป็นตัวแทนความคิดของนักคิด และบริบทที่เป็นเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมประวัติศาสตร์ อันมีอิทธิพลต่อการก่อตัวความคิดทางการเมืองของเขา

จากการศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของจิตร พบว่า ภาษาทางการเมืองที่นักคิดใช้เป็นประจำและเน้นย้ำให้ความสำคัญมีดังนี้ ลัทธิรักชาติแบบรุนแรง (Radical patriotism) หมายถึง ความรักในปิตุภูมิที่บรรพบุรุษของตนได้สร้างไว้ รวมทั้งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วยความยึดถือสืบต่อกันมา ชาติของจิตร หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ในชาตินั้น ส่วนความเป็นสากล หมายถึง การเคารพเอกลักษณ์ของกันและกันอย่างเสมอภาค และจิตรพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเพื่อคนส่วนใหญ่ ศาสนาพุทธมีคำสอนบางส่วนคล้ายวัตถุนิยมของลัทธิมาร์กซ์ แต่ส่วนใหญ่แล้วคำสอนมีความเป็นจิตนิยมมากกว่า การต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมไทย งานเขียนของจิตรเริ่มอธิบายตั้งแต่เรื่อง การต่อสู้ของชนชั้นไพร่ จนมาถึงชนชั้นกลางที่ต่อสู้กับระบบศักดินาไทย และคลี่คลายขยายตัวทางประวัติศาสตร์มาตามลำดับ โดยเริ่มจากระบบการเกณฑ์แรงงาน จนมาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

แคน สาริกา. (2532). วาระสุดท้ายแห่งชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. ธรรมสารการพิมพ์.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2539). กรณีโยนบก 23 ตุลา. สำนักพิมพ์นกฮูก.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2547ก). โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา. ฟ้าเดียวกัน.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2547ข). สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา. ฟ้าเดียวกัน.

จิตร ภูมิศักดิ์. (2556). ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. ชนนิยม.

ไชยันต์ ไชยพร. (2557). นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใน/กับวิกฤติการเมืองไทย: รายงานการวิจัย. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ทวีป วรดิลก. (2546). จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ผมรู้จัก. สำนักพิมพ์มติชน.

ทีปกร. (2519). อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสตรีไทย ใน กุหลาบ สายประดิษฐ์. ประวัติศาสตร์สตรีไทย. ชมรมหนังสือแสงดาว.

ทีปกร. (2531). ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน. ดอกหญ้า.

บุญชัย ใจเย็น. (2553). ฟัง เขียน คิดกับชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. บุ๊คส์ ทู ยู.

ประวุฒิ ศรีมันตะ. (2545). คู่มือปฏิวัติและมรดกทางวัฒนธรรมของจิตร ภูมิศักดิ์. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

วิชัย นภารัศมี. (2546). หลายชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. ฟ้าเดียวกัน.

วิลลา วิลัยทอง. (2556). ทัณฑะกาล ของจิตร ภูมิศักดิ์และผู้ต้องขังการเมือง. มติชน.

สมสมัย ศรีศูทรพรรณ. (2539). โฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบัน. นกฮูก.

โสภา ชานะมูล. (2546). วาทกรรมเรื่องชาติไทย ของปัญญาชนหัวก้าวหน้า ระหว่าง พ.ศ. 2490-2505. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2543). ความคิดทางประวัติศาสตร์และศาสตร์ของวิธีคิด: รวมบทความทางประวัติศาสตร์. อมรินทร์.

Finn, M . (1992). A Vent Which Has Conveyed Our Principles: English Radical Patriotism in the Aftermath of 1848. The Journal of Modern History, 64(4). 637-659.

Robinson, E. (2016). Radical Nostalgia, Progressive Patriotism and Labour’s English Problem. Political Studies, 14(3). 378-387.