การศึกษาการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 458 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (stratified random sampling) และตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยการวิเคราะห์ความแปรแปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบว่ามีความแตกต่างค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s)
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.33, S.D. = 0.50 และการเปรียบเทียบการบริหารงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ตามพื้นที่การจัดการศึกษา พบว่า มีการบริหารงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s) พบว่า มีพื้นที่การจัดการศึกษาต่างกัน จำนวน 2 คู่ ได้แก่ อำเภอพานกับอำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอป่าแดดกับอำเภอเวียงป่าเป้า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์
References
ก้องไกล เหมันต์. (2565). การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 8(1), 35-55.
เทพพร บุตรดาน้อย, สาโรจน์ เผ่าวงศากุล และ นิพนธ์ วรรณเวช. (2564). การดำเนินงานโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6(1), 173-188.
ภานุพงศ์ พนมวัน. (2562). แผนการศึกษาแห่งชาติกับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา ของประชากรไทยวัยแรงงานปี 2562. วารสารการศึกษาไทย. 17(1), 27-31.
สิตานันท์ ศรีชมพล. (2564). แนวทางการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2562). ข้อมูลโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล. http://1tambon1school.go.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในประเทศไทยและประเทศที่คัดสรรเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.