คุณภาพชีวิตในการทำงาน: แรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายคุณภาพชีวิตการทำงานในมุมมองของแรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้าน ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ คือ แรงงานต่างด้าวเพศหญิงสัญชาติลาว ที่ทำงานรับใช้ในบ้านและอาศัยอยู่กับนายจ้างในจังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในรูปแบบการสนทนาแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured Conversation) ร่วมกับการสังเกต และศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานใน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) สถานภาพทางกฎหมาย 2) สมดุลชีวิตและการทำงาน 3) ชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสม 4) ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ 5) อิสระในการติดต่อสื่อสารกับภายนอก
ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่า ในมุมมองแรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้าน ส่วนใหญ่รับรู้ว่าตนเองมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีผ่านองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมดุลชีวิตและการทำงาน 2) ชีวิตความเป็นอยู่ที่เหมาะสม 3) ค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ และ 4) อิสระในการติดต่อสื่อสารกับภายนอก โดยสาเหตุที่ทำให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานรับใช้ในบ้านรับรู้ว่า ตนเองมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีมาจาก (1) มุมมองต่องาน ที่เห็นว่างานบ้านเป็นงานปกติสำหรับผู้หญิง ประกอบกับความต้องการมีงานที่มีรายได้ดีกว่าการอยู่ในประเทศของตนเอง และ (2) ผลกระทบจากความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์รายคู่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และพัฒนาไปตามระยะของทฤษฎีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิก (Leader-Member Exchange: LMX) ซึ่งการที่นายจ้างจะสามารถพัฒนาความสัมพันธ์รายคู่ให้ไปถึงระยะการเป็นหุ้นส่วนที่สมบูรณ์ จำเป็นต้องพัฒนาความสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตการทำงานทั้ง 4 ด้านข้างต้น ซึ่งจะส่งผลให้ลูกจ้างเกิดมุมมองต่อคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี และทำให้ความตั้งใจลาออกของลูกจ้างลดลงได้ในที่สุด
Quality of Work Life: Migrant Domestic Workers
This research aimed to explain the quality of work life from the migrant domestic workers’ perspectives. The informants were 10 female Lao migrant workers who worked and lived with their employers. The data was collected by in-depth interview (semi-structured conversation) and observations. The research studied the quality of work life in five dimensions: 1) legal status, 2) work-life balance, 3) general well-being, 4) fair and appropriate compensation and 5) freedom of communication with outside.
The result indicated that migrant domestic workers recognized their quality of work life through the later four dimensions. The informants acknowledged that they had decent quality of work life from 1) their attitudes towards working which believed that domestic work was women’s burdens and their needs to have jobs that paid better than ones in their motherland and 2) the consequences of the relationships whose result of dyadic exchange relationships between employers and employees, is which developed in accordance with the theory of Leader-Member Exchange: LMX. In developing dyadic exchange relationships to the complete partnership level, the employers must improve the relationship to meet the quality of work life in all four aforementioned dimensions which would result in the better working attitude of the e
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์