ภูมิหลัง ภาพลักษณ์และการนิยามความหมายของนักศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน กรณีศึกษา: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง ภาพลักษณ์และการนิยามความหมายของนักศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 15 คน ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน และผู้ให้ข้อมูลรองจำนวน 5 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตีความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า สังคมได้มองนักศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน ว่าเป็นคนที่ด้อยความสามารถทางการศึกษา เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาและเป็นที่รวมตัวของคนที่พลาดโอกาส ไม่มีความสามารถพอที่จะเข้าเรียนในระบบโรงเรียนได้ โดยสังคมได้แบ่งแยกพวกเขาออกจากนักเรียนในระบบ มองว่าพวกเขานั้นมีคุณค่าน้อยกว่านักเรียนในระบบโรงเรียน ในขณะที่นักศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน ได้พยายามนิยามความหมายของตนเองขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ ว่าแท้จริงกลุ่มพวกเขาเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิชาการและวิชาชีพที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับนักเรียนในระบบโรงเรียน เป็นผู้ที่สามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในระดับสูง และปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิต
Background, Images and Definitions of Informal Basic Education Students: A Case Study of Na Thawi District Voluntary Education Center, Tambon Sa-Thon, Na Thawi District, Songkhla Province
The purpose of this research is to study background, image and definitions of basic informal students from informal and voluntary Education Center, Tambon Sathon, Na Thawi District, Songkhla Province. The data for this qualitative study were collected from related documents and in-depth interviews of 15 informants involved in informal and voluntary education, which were consisted of students, teachers and administrators. After data analysis, the data were interpreted in corresponding with the research objective. The results were presented subsequently using descriptive analysis.
The study found that these students were viewed as learning disabled, problem people, a group of people losing opportunities, and incapable to study in the formal educational system. They were separated from students in the formal system and regarded as lower class. Nevertheless, informal education students attempt to redefine themselves as knowledgeable, smart equivalent to normal student both academically and vocationally, and finally success in life. Besides, they could gain respect and acknowledgement from others.
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์