สื่อมวลชนกับสำนึกพลเมืองเรื่องผู้หญิง พ.ศ. 2516-2519

Main Article Content

ชเนตตี ทินนาม

บทคัดย่อ

การตื่นตัวทางการเมืองอันเป็นผลมาจากการเรียกร้อง ประชาธิปไตยของปัญญาชนในเดือนตุลาคม 2516 การประกาศให้ปี 2518 เป็นปีสตรีสากล และอิทธิพลของแนวคิดสังคมนิยมและเสรีนิยม ได้สร้างปรากฏการณ์ “สำนึกพลเมืองเรื่องผู้หญิง” ขึ้นบนพื้นที่สื่อมวลชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย บทความนี้ต้องการอธิบายว่า เหตุการณ์ 2516-2519 ซึ่งเป็นสมัยประชาธิปไตยเบ่งบานในสังคมไทย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำนึกพลเมืองเรื่องผู้หญิงบนพื้นที่สื่ออย่างไรผ่านการศึกษาตัวบทของหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และงานเขียนของผู้หญิงหัวก้าวหน้า ระหว่างปี 2516-2519 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้ผู้หญิงหัวก้าวหน้าส่วนหนึ่งจะลุกขึ้นมาท้าทายสร้างสำนึกพลเมืองใหม่ อีกแง่มุมหนึ่ง ผู้หญิงเองก็ยังไม่หลุดพ้นจากการตกเป็นมนุษย์ผู้ถูกกระทำ ผู้หญิงมิได้เป็นตัวการขับเคลื่อนเพื่อต่อสู้ด้วยแนวทางของผู้หญิงเอง แต่เลื่อนไหลไปตามโครงสร้างสังคมและกรอบคิดซึ่งมีพื้นฐานแบบชายเป็นใหญ่ การต่อสู้เพื่อสถาปนาวาทกรรมผู้หญิงในฐานะพลเมืองบนพื้นที่สื่อดูเหมือนตื่นตัวแต่ยัง ขาดความหลากหลายและจำกัดอยู่ภายใต้กรอบคิดสังคมนิยม เสรีนิยม ความตระหนักในวาระข่าวสารเรื่องผู้หญิงของสื่อมวลชนเป็นเพียงการโหน ตามกระแสความตื่นตัวทางการเมืองมากกว่าความสำนึกในเรื่องความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศ แต่กระนั้นก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เสียงของผู้หญิงในฐานะพลเมืองได้ปรากฏขึ้นบนพื้นที่สาธารณะและเป็นการแผ้วถางหนทางต่อสู้ให้ผู้หญิงรุ่นหลังได้เรียนรู้และปรับใช้ในเวลาต่อมา

 

Mass Media and Citizens’ Consciousness of Women (1973-1976)

Political awakening which resulted from intellectuals’ demand for democracy in October 1973, the declaration of 1975 as the International Women’s Year, and the influence of socialism and liberalism created a phenomenon of‘citizens’ consciousness of women in the mass media like never before in Thai history. This articles aims to explain how the events that occurred during 1973-1976, when democracy was blooming in Thai society, helped create changes in citizens’ consciousness in regard to women throughout the media, by a study of newspapers, magazines, and literary works of progressive women during 1973-1976. The study finds that even though some progressive women challenged to build a new citizen’s consciousness, in another aspect women themselves were not yet freed from being the victims. Women were not the driving force for the fight using their own methods, but they went with the flow under the patriarchal social structure and concepts. The fight to establish women’s discourses as citizens in the media appeared active, but was lacking variety and was restricted under the concepts of socialism and liberalism. The consciousness of the agenda setting in regard to women of the mass media was more of a trend following political awakening than the consciousness of gender inequality. However, such was a start of the appearance of the voices of women as citizens in the public sphere and provided a fighting opportunity to be learned and adapted by women of later.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)