เหลียวหลัง แลหน้า กับวิกฤตไฟป่าของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
Looking Backward and Forward to Thailand’s Wildfire Crisis
ไฟป่า เป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สูญเสียทั้งพื้นที่ป่าและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและตั้งคำถามในประเด็นเกี่ยวกับไฟป่าในประเทศไทย ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซากและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยกล่าวถึงไฟกับความเชื่อในวิถีเกษตรกรรมของคนท้องถิ่น สถานการณ์ไฟป่า และการมีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่าของประชาชน ความสำคัญของความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย และแนวทางการจัดการไฟป่าในอนาคต ทั้งนี้จากการทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านควบคุมไฟป่า พบว่าสาเหตุสำคัญของไฟป่าคือคนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร และการใช้ประโยชน์จากป่า โดยที่การเติบโตของอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกษตรกรใช้วิธีการเผาและบุกรุกป่ามากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการทางการเกษตรยังใช้วิธีการเผาในจัดการพื้นที่เกษตรกรรมเพราะง่ายและลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อว่าไฟมีประโยชน์ในวิถีเกษตรกรรมของคนท้องถิ่นนั้นยังคงมีอยู่ตราบจนปัจจุบัน ขณะที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการไฟป่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานภาพป่า ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้นำ และการสนับสนุนจากรัฐ ส่วนสิทธิชุมชนที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมนั้นมีแนวโน้มดีขึ้น ถึงกระนั้นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการป่าและไฟป่า การคิดค้นนวัตกรรมทางการเกษตรและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการสร้างโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ทางสังคมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เหล่านี้เป็นแนวทางการจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืนได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์