การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นความพยายามทดลองเพื่อนำเสนอแนวคิดในการบูรณาการหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา มาประยุกต์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักของศาสตร์ทางตะวันตก ศาสนาเป็นหนึ่งในพลังที่มีอำนาจให้ความรู้ลึกซึ้ง และมีอิทธิพลต่อชีวิตครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ และการเมือง ความเชื่อและค่านิยมทางศาสนาเหนี่ยวนำการกระทำของมนุษย์ ศาสนาพุทธจึงเป็นลักษณะสำคัญของชีวิตและมิติทางสังคมก็เป็นส่วนสำคัญของศาสนาและอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ พุทธธรรมมีจุดเน้นที่การพัฒนามนุษย์เป็นพื้นฐาน หากมีการนำหลักพุทธศาสนามาบูรณาการหรือผสมผสานกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็จะเป็นความสอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมที่เป็นอยู่อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องจริยธรรมในการทำงานซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันขององค์การภาครัฐในด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงของทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำหรือนักการเมืองก็ตามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้พุทธธรรมมาช่วยยกระดับจริยธรรมนั้นเป็นประโยชน์ที่สำคัญพุทธธรรมมิใช่เป็นกฎธรรมชาติที่จะบอกมนุษย์เรื่องความดีความชั่วเท่านั้น พุทธธรรมยังเป็นเครื่องชี้นำแนวทางในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปสู่ชีวิตที่ดีอีกด้วย ดังนั้นการประยุกต์พุทธธรรมทั้งในระดับโลกียธรรมและโลกุตรธรรมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและในฐานะทรัพยากรขององค์การและประเทศชาติ ทำให้คนเป็นมนุษย์ที่มีทั้งความเก่ง ความดี และความสุข