ความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

ขวัญฤดี รัตนชู
ภิรดา ชัยรัตน์
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกับความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยน เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย คือ บุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน จำนวน 368 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
บางเขน เกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอยู่ในระดับมาก และความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐอยู่ในระดับมาก สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีเพศระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานต่างกัน จะมีความคาดหวังต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ที่มีอายุ สังกัด ประเภทบุคลากร ตำแหน่งหน้าที่ และอัตราเงินเดือนต่างกัน จะมีความคาดหวังต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่แตกต่างกัน และพบว่าความรู้เกี่ยวกับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ต่อการเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย