ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ
ศรีเรือน แก้วกังวาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความสุขในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลระดับปฏิบัติการใน
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์การ (2) แบบสอบถามบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (3) แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและ (4) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐาน มีความสัมพันธ์ในระดับ
ปานกลางกับความสุขในการทำงานของพยาบาล 2. บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรายด้าน ได้แก่ บุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสุขในการทำงานของพยาบาล ส่วนบุคลิกภาพแบบแสดงตัว บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความสุขในการทำงานของพยาบาล 3. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยรวมมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับความสุขในการทำงานของพยาบาล พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การรายด้าน ได้แก่ พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือและพฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความสุขในการทำงานของพยาบาล 4. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่างความผูกพันต่อองค์การโดยรวมกับความสุขในการทำงานโดยเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนของความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานกับความสุขในการทำงานของพยาบาล และ 5. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อบางส่วนระหว่างบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว และบุคลิกภาพแบบแสดงตัวกับความสุขในการทำงานพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ระหว่างบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบประนีประนอม และ
บุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกกับความสุขในการทำงานของพยาบาล

Article Details

บท
บทความวิจัย