วัฒนธรรมและการทำให้ (ไม่) เป็นประชาธิปไตย: มายาคติเกี่ยวกับ “ภาวะยกเว้นของตะวันออกกลาง”

Main Article Content

ไพลิน กิตติเสรีชัย
วริศรา อิ่มพิทักษ์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ต้องการหักล้างความเชื่อเกี่ยวกับ “ภาวะยกเว้นของตะวันออกกลาง” ที่ว่าประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลางไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตยได้เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองของตะวันออกกลางไม่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื้อหาในบทความแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกจะเป็นการอธิบาย “ภาวะยกเว้นในตะวันออกกลาง” ผ่านปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมทางการเมืองซึ่งถูกหล่อหลอมมาจากศาสนาอิสลามและวัฒนธรรม “เผ่าชนนิยม” (tribalism) อีกสองส่วนต่อมาเป็นการหักล้างข้อเสนอเกี่ยวกับภาวะยกเว้นในตะวันออกกลางที่ผูกอยู่กับวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในตะวันออกกลาง โดยในส่วนที่สองเป็นการอธิบายถึงปัจจัยชนชั้นนำอันเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย โดยชี้ให้เห็นถีงวิธีการและกลไกที่ผู้ปกครองในภูมิภาคนี้ใช้เพื่อดำรงไว้ซึ่งอำนาจของตน ในส่วนสุดท้ายอธิบายถึงเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้หักล้างความเชื่อเกี่ยวกับภาวะยกเว้นในตะวันออกกลาง เพราะปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนในภูมิภาคมีความต้องการขั้นพื้นฐานตลอดจนสิทธิ เสรีภาพ ไม่ต่างไปจากคนในภูมิภาคอื่นๆ และพร้อมที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านั้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ