ตลาดเก่า: ทุนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว ในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

ประทีป พืชทองหลาง
ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอทุนวัฒนธรรม จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของตลาดเก่าเส้นทางเดินเที่ยวจับจ่ายสินค้า และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานทุนวัฒนธรรม พื้นที่วิจัย คือ ตลาดเก่าในเขตภาคเหนือตอนบน 4 แห่ง ได้แก่ กาดหลวง กาดวัวควายทุ่งฟ้าบด กาดกองต้า และกาดเช้าเมืองน่าน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าของตลาด ผู้ค้า ผู้ซื้อ จำนวน 100 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 1,600 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนวัฒนธรรมของตลาดเก่าทั้ง 4 แห่ง มีอัตลักษณ์ที่สำคัญและสอดคล้องกัน คือ สินค้าและอาหารพื้นเมืองอาหารตามฤดูกาล วิถีชีวิตล้านนา รูปแบบร้านค้า และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 2) ตลาดเก่าทั้ง 4 แห่งมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เน้นเอกลักษณ์ของล้านนาได้ 3) เส้นทางเดินเที่ยวจับจ่ายสินค้า ควรให้ความสำคัญกับที่จอดรถ ที่นั่งพักผ่อน และทางเดินเท้าที่ยังไม่เป็นสัดส่วน คับแคบ ไม่สะอาด 4) แนวทางการพัฒนาตลาดเก่าในเขตภาคเหนือตอนบนต้องสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ ร่วมกับการรักษาคุณค่าและอัตลักษณ์ของตลาด โดยเน้นปัจจัยสำคัญ 5 ประการ
ได้แก่ 4.1) มุ่งเน้นวัฒนธรรม 4.2) มีตารางกิจกรรมที่ชัดเจน 4.3) พัฒนาพื้นที่สาธารณะ 4.4) บริหารแบบมีส่วนร่วม 4.5) รื้อฟื้นกิจกรรมหรือวิถีชีวิตดั้งเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย