โคมล้านนา : รูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมและประยุกต์ สมัยใหม่เชิงพาณิชย์

Main Article Content

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง
ประทีป พืชทองหลาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ ลักษณะ ชนิดลวดลายของโคมล้านนา รวมถึงรูปแบบการผลิตโคมแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์สมัยใหม่ พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนเมืองสาตรหลวง ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ให้ข้อมูล คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ รวม 59 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1. โคมล้านนาเป็นภูมิปัญญาที่ผสานความเชื่อระหว่างศาสนาพราหมณ์และพุทธที่ถูกรังสรรค์ผ่านงานศิลปะเพื่อใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในประเพณียี่เป็ง (ลอยกระทง) ตามคติที่ว่า แสงสว่างจากโคมจะช่วยให้ชีวิตตน มีความเจริญรุ่งเรือง โคมล้านนาที่ชุมชนเมืองสาตรผลิตมี 4 ลักษณะ คือ 1) โคมถือ 2) โคมแขวน 3) โคมตั้ง และ 4) โคมลอย แบ่งเป็น 10 ชนิด คือ 1) โคมเสมาธรรมจักรหรือโคมแปดเหลี่ยม 2) โคมไห 3) โคมกระจัง 4) โคมดาว 5) โคมเงี้ยว 6) โคมหูกระต่าย 7) โคมกระบอก 8) โคมผัด 9) โคมแอว 10) โคมญี่ปุ่น ลวดลายที่นิยมมี 16 ลาย เช่น ดอกบัว ดอกจอก สัตว์สิบสองราศี เป็นต้น 2. การผลิตแบบดั้งเดิมนิยมใช้วัสดุจากธรรมชาติ แบบประยุกต์สมัยใหม่นิยมใช้วัสดุที่หาง่ายและย่นเวลาในการผลิต รูปแบบการผลิตแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์สมัยใหม่มีขั้นตอนหลัก 5 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมอุปกรณ์ ทำโครงสร้างตัวโคมและหูโคม 2) การปิดกระดาษสาหรือผ้า 3) การทำหาง 4) พับ ตัดลวดลายประดับโคม 5) ตกแต่งลวดลาย 

Article Details

บท
บทความวิจัย