โองการแช่งน้ำ : อำนาจของการสาปแช่ง หรืออำนาจของการจับจ้อง

Main Article Content

สมเกียรติ วันทะนะ

บทคัดย่อ

โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีไทยที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงศรีอยุธยาเท่าที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร คำศัพท์โบราณจำนวนมากทำให้นักปราชญ์และนักวิชาการเห็นว่าน่าจะเป็นผลงานในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ด้วยความยาวเพียง 4 หน้า วรรณคดีเรื่องนี้กระตุ้นให้เกิดทัศนะที่หลากหลายจากผู้อ่าน นับถึงตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้


โดยภาพรวมโองการแช่งน้ำถูกมองว่าเป็นคำสัตย์สาบานที่ใช้ผูกมัดให้ขุนนางจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล หรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา ซึ่งเป็นพระราชพิธีใหญ่สำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณ การศึกษาโองการแช่งน้ำที่ผ่านมาจึงมุ่งวิเคราะห์เนื้อหาของโองการดังกล่าว บทความนี้ต้องการเสนอว่า ที่สำคัญยิ่งกว่าเนื้อหาของโองการแช่งน้ำคือกระบวนการแห่งพิธีกรรมของโองการแช่งน้ำเอง ซึ่งเป็นการบีบให้ผู้เข้าร่วมในพิธีกรรมต้องทำหน้าที่ระมัดระวังพฤติกรรมของตนเอง (surveillance) ในระบบการเมืองของอยุธยา หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการของพิธีกรรมเป็นอุปกรณ์ประกันความมีเสถียรภาพของระบบการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนาง โดยให้ทุกคนที่เข้าร่วมพิธีควบคุมตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย