แนะนำหนังสือ คำพิพากษาศาลในกลุ่มประเทศอาเซียน จะมีผลในอีกประเทศหนึ่งหรือไม่ ?

Main Article Content

ไฉไล ศักดิวรพงศ์

บทคัดย่อ

ปกติคำพิพากษาของศาลภายในประเทศใช้บังคับอยู่ภายในดินแดนของประเทศนั้นๆ หลังจากมีการรวมตัวของกลุ่มประเทศอาเซียน เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ. 1967 การดำเนินกิจการต่างๆ มีผลต่อ การเกิดปัญหาการขัดกันระหว่างระบบกฎหมายภายใน (domestic law) 1 ของกลุ่มอาเซียนที่มีทั้งประเทศที่ได้รับอิทธิพลในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) 2 เช่น ประเทศบรูไน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชาาและประเทศเวียดนาม เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ซึ่งคุณอานนท์ ศรีบุญโรจน์ จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้กล่าวไว้ในคำนำ ทำให้ผู้อ่านได้รับทราบถึงปัญหาที่ผู้เขียนเสนอ ในภาพรวมของหนังสือเล่มนี้คือ “การรับรองและบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศเป็นประเด็นทางกฎหมายที่ได้รับความสนใจจากนานา อารยประเทศ….นิติสัมพันธ์ในระหว่างเอกชนที่มีลักษณะข้ามชาติ….ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้คำพิพากษาซึ่งเป็นผลจากการระงับข้อพิพาทหรือการฟ้องคดีมิอาจจำกัดผลอยู่เฉพาะภายในดินแดนของประเทศแห่งศาลที่ได้ทำคำพิพากษาเหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไป”

Article Details

บท
บทแนะนำหนังสือ