ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผาสุกทางจิตใจและความยึดมั่น ผูกพันในวิชาชีพของข้าราชการครู สังกัดโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทุนจิตวิทยาเชิงบวก ระดับความผาสุกทางจิตใจ และระดับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ของข้าราชการครู 2) เปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ของข้าราชการครู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนจิตวิทยาเชิงบวก กับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ของข้าราชการครู และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผาสุกทางจิตใจ กับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ ของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู สังกัดโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร 1,140 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Least Significant Difference (LSD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ .01


ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความผาสุกทางจิตใจ และความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของข้าราชการครู อยู่ในระดับสูง 2) ข้าราชการครูที่มีอายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ ประสบการณ์การทำงาน รายได้ต่อเดือนและสถานภาพสมรส แตกต่างกันมีความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นข้าราชการครูที่มีเพศแตกต่างกันมีความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพไม่แตกต่างกัน 3) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความผาสุกทางจิตใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของข้าราชการครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย