“เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอีสาน” ภายใต้เสรีนิยมใหม่ และ รัฐในฐานะ “นายหน้าที่ดิน” กรณีศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร

Main Article Content

กนกวรรณ มะโนรมย์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์บทบาทของเสรีนิยมใหม่ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนอีสานโดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และ การใช้ข้อมูลทุติยภูมิ บทความชี้ให้เห็นว่า รัฐเชื่อว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ในบริเวณชายแดนด้วยการจัดการและควบคุมการพัฒนาเศรษฐกิจในฐานะที่เป็นพื้นที่ยกเว้นทางนโยบายและสิทธิพิเศษมากมายทางกฎหมายและภาษี นอกจากนี้ รัฐได้เล็งเห็นว่าภาคอีสานและชายแดนอีสาน แม้เป็นพื้นที่ยากจน แต่มีศักยภาพและความเหมาะสมเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาชายแดนเนื่องจากกำหนดให้เป็นประตูเศรษฐกิจและการค้าที่เชื่อมโยงกับประเทศพื้นบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์จากโครงการระเบียงเศรษฐกิจ เส้นทางคมนาคม แรงงานต่างชาติ สิทธิประโยชน์การลงทุน และการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จมาก่อนแล้ว ประการต่อมา บทความได้เสนอให้เห็นว่า ภาครัฐทำหน้าที่เป็น “นายหน้าที่ดิน” แทนภาคเอกชน ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวเสรีนิยมใหม่ผ่านโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยทำหน้าที่จัดหาที่ดินให้กับเอกชนเพื่อตอบสนองและดึงดูดการลงทุนในพื้นที่มากกว่าทำหน้าที่ปกป้อง และ เตรียมการจัดการกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่นที่จะต้องสูญเสียที่ดิน เพื่อนำมาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

Article Details

บท
บทความวิจัย