บทเรียนจากการดำเนินการวิจัยกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ: ผลกระทบของพนักงานสัมภาษณ์ที่มีต่อคุณภาพของข้อมูล

Main Article Content

ชเนตตี มิลินทางกูร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนประสบการณ์ของผู้วิจัยในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่มีประชากรตัวอย่างเป็นแรงงานเมียนมา และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพนักงานสัมภาษณ์ที่มีต่อการจัดเก็บและคุณภาพของข้อมูล ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากโครงการศึกษาผลกระทบจากการย้ายถิ่นของแรงงานเมียนมามายังประเทศไทยที่มีต่อผู้สูงอายุในเมียนมาในมิติต่าง ๆ และมีประชากรตัวอย่างคือ แรงงานเมียนมาที่ทำงานอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 1,324 คนซึ่งมีคำถามหลักของการวิจัย 2 ประการ คือ ปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจและสังคมมีความสัมพันธ์กับโอกาสการเกิดความสุขของผู้สูงอายุที่มีหลานอยู่ที่บ้านหรือไม่ และความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ต่อโอกาสของการส่งเงิน 48,000 บาทต่อปีให้กับผู้สูงอายุอย่างไร โดยใช้สมการถดถอยแบบโลจิสติกส์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยทางประชากร เศรษฐกิจและสังคม มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อเกิดความสุขของผู้สูงอายุ และโอกาสของการส่งเงิน 48,000 บาทต่อปี ให้กับผู้สูงอายุ หลังจากควบคุมตัวแปรพนักงานสัมภาษณ์ ทำให้เกิดข้อค้นพบที่สำคัญยิ่งว่า ในการศึกษาที่มีพนักงานสัมภาษณ์ที่เป็นชาวต่างชาติ ควรมีการควบคุมดูแล และตรวจสอบการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจถึงคุณภาพของข้อมูล

Article Details

บท
บทความวิจัย