วัฒนธรรมท้องถิ่นในกระแสอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: พลวัตและการปรับเปลี่ยนของประเพณีแห่ปราสาทผึ้งในยุคโลกาภิวัตน์

Main Article Content

วรเมธ ยอดบุ่น
โสวัตรี ณ ถลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบและพัฒนาการของประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง 2) การให้ความหมายใหม่และกระบวนการทำประเพณีให้เป็นสินค้าของประเพณีแห่ปราสาทผึ้งจังหวัดสกลนคร 3) ผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดจากกระบวนการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสังเกต การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Informants) จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีแห่งปราสาทผึ้งมีพัฒนาการและการปรับตัวตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ของรูปแบบปราสาทผึ้งและการจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้ง โดยปัจจุบันนิยมการสร้างปราสาทผึ้งทรงจตุรมุขและการจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งที่เน้นความยิ่งใหญ่อลังการและการมีส่วนร่วมของประชาชน ปราสาทผึ้งมีการเปลี่ยนแปลงความหมาย จากบริบทของศาสนามาสู่บริบทของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สุดท้ายการจัดงานประเพณีแห่ปราสาทผึ้งต้องอาศัยผู้คนจากหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยในการจัดงานมีทั้งการใช้ทุนทางสังคมและเครือข่ายทางสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและขับเคลื่อนความเป็นชุมชนท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย