การกล้าแสดงออกที่เหมาะสม ความฉลาดทางอารมณ์ และรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มนธีรา บุญชากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับการกล้าแสดงออกที่เหมาะสม ระดับความฉลาดทางอารมณ์ และรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการกล้าแสดงออกที่เหมาะสม กับรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ กับรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 244 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ คือ  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า f-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การกล้าแสดงออกที่เหมาะสมและความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง รูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกที่เน้นการแก้ปัญหาและเน้นอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกด้านที่เน้นการหลีกเลี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง 2) การกล้าแสดงออกที่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกที่เน้นการแก้ปัญหาและที่เน้นอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.01แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกที่เน้นการหลีกเลี่ยง และ 3) การความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการเผชิญปัญหาการถูกรังแกทั้ง 3 รูปแบบของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2550). เด็กไทยชอบรังแกติดอันดับ 2 ของโลก. สืบค้นจาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/751894.

กันตชาติ เมธาโชติมณีกุล. (2559). พฤติกรรมการกล้าแสดงออกของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ห้อง 4 สาขาวิชาการตลาดวิทยาลัย เทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีปทุม).

จุไรรัตน์ พงษ์ดัด. (2553). รูปแบบการรังแกกันและการจัดการปัญหาการรังแกกันของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเขตปริมณฑล. มหาวิทยาลัยมหิดล: [ม.ป.ท.].

นันทินี ศุภมงคล. (2547). ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญ ปัญหาของนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เบญจพร อนุสนธิ์พรเพิ่ม และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ของความฉลาดทางอารมณ์และ พฤติกรรมรังแกข่มขู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.วารสารสมาคม จิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(3), 181-182.

โยธิน พวงพิลาและคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13”, มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิไลรัตน์ แสงศรีและธวัชชัย พึ่งธรรม. (2558). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์และความ ขัดแย้งของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่. วารสารราชมงคลล้านนา, 3(1), 43.

สมคิด ลอมาลี. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมข่มขู่ของนักเรียนช่วงชั้นที่2 เขตห้วยขวาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สมบัติ ตาปัญญา. (2549). รายงานการสำรวจปัญหาการรังแกกันของนักเรียน. เชียงใหม่:
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2549). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560 ของ ETDA. สืบค้นจาก https://www.smartsme.co.th/content/76548.

องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย). (2557). การรังแกกันของนักเรียนใน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา : รูปแบบ ความชุก ผลกระทบ แรงจูงใจ และ มาตรการป้องกัน ใน 5 จังหวัดของประเทศไทย. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้น จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2168692.

Cook and Heppner. (1997). Bully/victim problems in school: Facts and intervention. European Journal of Psychology of Education, 12(4), 495–510.

Hargie, Saumders and Dickson. (1994). Social Skills in Interpersonal Communication. 14(7), Croom Helm.

J Lomas, K Hansen and LA Downey. (2012). Brief report: Emotional intelligence, victimisation and bullying in adolescents. Journal of adolescence. 35(1), 207-211.

Jorge Luiz da Silva et al. (2016). The Effects of a Skill-Based Intervention for Victims of Bullying in Brazil. Int J Environ Res Public Health, 13(11), 1042. doi: 10.3390/ijerph13111042.

Parris, Leandra N. The Development and Application of the Coping with Bullying Scale for Children. Counseling and Psychological Services Dissertation, Georgia State University, 2013. Retrived from https://scholarworks.gsu.edu/cps_diss/93.

Susan Rivers. (2014). Preventing Bullying using Emotional Intelligence Training. Yale Center for Emotional Intelligence, Retrived from http://ei.yale.edu/preventing-bullying-using-emotional-intelligence- training/.

Bangkok Business. (2007). Bullying situation in Thai Children: Thailand Bullying was ranked second in the world. [Blog bangkokbiznews]. Retrived from http://www.bangkok biznews.com/news/detail/751894 . [in Thai]

Mathachotmaneekul K. (2016). Assertion Behavior of Student Vocational Certificate Marketing Program at Attawit Commercial Teachnology College. (Master Thesis, SripatumUniversity). [in Thai]

Pongdat J. (2010). Bullying Styles and Coping with Bullying of Junior High School Students at School in Metropolitan Area. Mahidol University : [n.p.]. [in Thai]

Supamongkon N. (2004). Anxiety, Social Support and Coping Strategies of University Students. Bangkok : The Chulalongkorn University Publisher. [in Thai]

Anusonpornperm B. et al. (2015). Relating of Emotional Quotient and Bullying Behavior of Junior High School Students in Bangkok. The Journal of Psychiatric Association of Thailand, 60(3), 181-182. [in Thai]

Puamara Y. et al. (2017). Factors Affected to Emotional Quotient Among Secondary School Students in Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. “Researching Mahasarakham University Meeting report 13th”, Mahasarakham : The Graduate School Mahasarakham University. [in Thai]

Sangsri W. et al. (2015). A study of Emotional Quotients and Conflict of Rajamangala University of Technology Lanna Students, Chiang-Mai Campus. RMUTL Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 43. [in Thai]

Lormaree S . (2011). Factors Relating To Bullying Behavior of The Second Level Students In Schools under the Bangkok Metropolitan In Huay Kwang District, Bangkok Metropolitan. (Master Thesis, SrinakharinwirotUniversity). [in Thai]

Tapanya S. (2006). The report of student’s bullying problem survey: Department of Psychaitry, Faculty of Medicine. Chiangmai University. [in Thai]

Eaimsupasit S. (2006). Theories and Teachniques in Behavior Modification. Bangkok : The Chulalongkorn University Publisher. [in Thai]

Electronic Transactions Development Agency. (2560). The report of Behavior’s User Internet in Thailand 2018 of ETDA. Retrived from https://www.smartsme.co.th/content/76548. [in Thai]

Plan International Thailand. (2014). Bullying of The Second Level Students In Schools : Prevalence Styles ,Effective, Motive and Preventive in 5 Province of Thailand, [E;ectronic]. Retrived from https://www.ryt9.com/s/prg/2168692. [in Thai]