The ชุมชนข้างทางรถไฟกับผลกระทบจากการสร้างรถไฟรางคู่ : ศึกษากรณีชุมชนข้างทางรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องชุมชนข้างทางรถไฟกับผลกระทบจากการสร้างรถไฟรางคู่ ศึกษากรณีชุมชนข้างทางรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ส่วนที่สองการเกิดชุมชนข้างทางรถไฟ กรณีการศึกษาชุมชนที่ถูกผลกระทบจากการสร้างรถไฟรางคู่ ส่วนที่สามสภาพชีวิตผู้คนข้างทางรถไฟ การต่อสู้ และการต่อรองอำนาจ และส่วนที่สี่ชุมชนข้างทางรถไฟกับการถูกผลกระทบจากการพัฒนาเมือง กรณีศึกษาการสร้างรถไฟรางคู่ ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ข้างทางรถไฟในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น ประกอบไปด้วยกลุ่มคนจนเมืองและกลุ่มคนจนจากเขตอำเภอและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดขอนแก่น ชุมชนข้างทางรถไฟขยายไปทั้งสองฝั่งข้างทางรถไฟอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ผู้คนเหล่านี้มักถูกมองว่าเป็นคน “สลัม” หรืออยู่ใน “ชุมชนแออัด” สภาพชีวิตไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้รับการคุ้มครอง และไม่มีการอำนวยความสะดวกจากภาครัฐทั้งด้านการบริโภคและอุปโภค คนในชุมชนข้างทางรถไฟมีการต่อสู้ การต่อรอง และการสร้างพื้นที่เพื่อสร้างศักยภาพของชุมชน อย่างไรก็ตามมีการอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้สร้างรถไฟรางคู่ ทำให้หลายครอบครัวต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยและถูกตัดขาดความสัมพันธ์กับคนในชุมชน พวกเขาได้รับเหตุผลว่าการพัฒนาเส้นทางคมนาคมจะทำให้เกิดความสะดวกต่อการพัฒนาจังหวัดและประเทศต่อไป และพื้นที่ข้างทางรถไฟเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดังนั้น ในชุมชนข้างทางรถไฟบางพื้นที่จึงถูกไล่รื้อบ้าน ทว่าครอบครัวที่ได้รับผลกระทบกลับไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ หรือชดใช้ค่าเสียหายอย่างคุ้มค่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาทางด้านสิทธิหลายประการ
Article Details
References
สภาพแวดล้อมและศักยภาพของการพัฒนากลุ่มจังหวัดในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางปี พ.ศ.2554-2556.สำนักงานยุทธศาสตร์. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง.
แก้วตา จันทรานุสรณ์. (2551). คนจีนกับการผลิตสร้างวัฒนธรรมสาธารณะใน เทศบาลนครขอนแก่น. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์และ
คมสันติ์ จันทร์อ่อน. การพัฒนาประเทศการรับผิดชอบผลกระทบต่อคนจนของรัฐบาล. (12 เมษายน2560) สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2015/02/58132
ชนกาญจน์ พันธุ์เดิมวงศ์. (2559). กระบวนการและการมีส่วนร่วมในการ
ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านที่อยู่อาศัยของเครือข่ายสลัมสี่ภาค. วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2559)
ชุมชนริมทางรถไฟขอนแก่นเสี่ยงเป็นคนไร้บ้านหลังถูกไล่รื้อที่อยู่อาศัย. อีสานเรคคอร์ด, (12 เมษายน 2560) สืบค้นจาก http://isaanrecord/2017/
02/06/slum-khonkaen-2017
ฐากร สิทธิโชค. (2561). ชุมชนป้อมมหากาฬ การต่อสู้เพื่อแก้ปัญหาการไล่รื้อที่ดิน. อินทนิลทักษิณสาร. ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561)
เดชา สังขวรรณ และ รุ่งนภา เทพภาพ. (2553). ปัญหาคนจนเมืองในชุมชนแออัด : องค์ความรู้และกระบวนการขับเคลื่อนเปรียบเทียบประเทศไทยและประเทศเกาหลี [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์].วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 15 (1), 1-18.
ธนภน วัฒนกุล. (2550). การเมืองเรื่องพื้นที่ พลวัตทางสังคมของชุมชน (กรณีศึกษา: ชุมชนป้อมมหากาฬ). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สถาบันวิชาการ 14 ตุลาคม.
มติคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีทางคมนาคม สำนักนายกรัฐมนตรี. (1พฤษภาคม 2560) สืบค้นจาก http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program23.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (7 มิถุนายน 2561) สืบค้นจาก http://stat.dopa.go
th/stat/statnew/upstat_age.php
รถไฟทางคู่กระทบคนจนเมืองขอนแก่น. (17 เมษายน 2560). อีสานเรคคอร์ด,
สืบค้นจาก http://isaanrecord.com/2016/08/30/5521/
แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2561-2564. (2559). สำนักงานจังหวัดขอนแก่น :
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.
สมาคมทวาย DDA. (2557). เสียงชุมจากชุมชน ข้อกังวลเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง. สมาคมพัฒนาทวาย.
สุทิพย์ ดิสโร. (2555). ผลกระทบของโครงการสร้างรถไฟรางคู่ต่อชุมชนอำเภอ
เมืองจังหวัดขอนแก่น. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวัฒน์ คงแป้น. (2548). ลีลาคนจน พลังขับเคลื่อนชุมชนและเมืองน่าอยู่. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มูลนิธิชุมชนไท สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
สุวิทย์ ธีรศาสวัต. (2551). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านอีสาน 2488-2544. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อคิน รพีพัฒน์, (2542). ชุมชนแออัด : องค์ความรู้กับความจริง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง : กรุงเทพฯ.
CESCR General Comment4: The right to edequate housing UN OHCHR. Art 11 (1) of the Convenant. (1992). สืบค้นจาก https://www.refworld.org/pdfid/47a7079a1.pdf
Lane Eisenburg, Dan Masciello, Sara Saavedra และ Max Weisman. (2550). เสียงจากคนชายขอบ สิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย : ชุมชนแออัดขอนแก่น โครงการขับเคลื่อนสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม.