แนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

จินตนา กาญจนวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสาธารณะ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตสาธารณะ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำแนกตามเพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรีจำนวน 417 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเป็นสัดส่วน และกลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่มจำนวน 6 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบบันทึก เอกสารและข้อคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่านิสิตมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 นิสิตที่เรียนอยู่ชั้นปี และกลุ่มสาขาต่างกันมีความคิดเห็นต่อจิตสาธารณะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างจิตสาธารณะนั้น ฝ่ายผู้บริหารควรกำหนดนโยบายการสร้างความเข็มแข็งจากภายในสู่ภายนอก อาทิ จัดตั้งศูนย์กิจกรรมและสร้างเครือข่ายทางสังคม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมจิตสาธารณะ
ที่บูรณาการในรายวิชาต่าง รวมถึงการส่งเสริมการใช้ถุงผ้าเพื่อลดปริมาณขยะ ด้านอาจารย์ควรสอนนิสิตเกี่ยวกับแนวคิดและมุมมองต่อโลกและสังคม สร้างแรงจูงใจ ฝึกอบรมผ่านการเล่าประสบการณ์ และการสัมภาษณ์บุคคลที่เป็นแบบอย่าง ฝ่ายนิสิตควรมีโอกาสเรียนรู้ผ่านการกระทำ การระดมความคิดเห็นและเสนอแนะกิจกรรมจิตสาธารณะ สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และปฏิบัติตามกฎระเบียบในสังคม และฝ่ายผู้ปกครองควรเลี้ยงดูลูกวัยรุ่นด้วยความรัก สอนบุตรหลานให้ใช้เหตุผล มีความรับผิดชอบ มุ่งอนาคต และร่วมกันเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรยา พรรณนา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์แห่งมหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
จิราภรณ์ เกตุแก้ว. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2546). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). สอนให้เด็กมีจิตสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : วีพริ้น
ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการวิจัย เรื่อง จิตสาธารณะสมบัติ: ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไชยา ยิ้มวิไล. (2550). “สำนึกสาธารณะ.” มติชนสุดสัปดาห์. (15 มิถุนายน 2550): 27.
ณัฐวุฒิ ประทีปลัดดา พัชร์สิตา เพชรประดับ พลอยไพลิน พงษ์ศิริแสน และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). “การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และกระบวนการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมของนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา.” วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1):546-559.
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2559). จิตสาธารณะกับการปลูกฝังในเด็กปฐมวัย. (Online). https://www. gotoknow .org /posts/467698, 29 กุมภาพันธ์ 2559.
ทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2559). จิตสาธารณะ. (Online). http://taamkru.com/th/, 29 กุมภาพันธ์ 2559.
นภดล ปรางค์ทอง. (2557). “จิตสำนึกสาธารณะและสำนึกพลเมืองในเรื่องสะท้อนจิตวิญญาณประชาธิปไตย” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 36(1) : 96-117.
นวรินทร์ ตาก้อนทอง. (2557). “จิตสาธารณะ คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์.” วารสารการวัดผลการศึกษา. 31(89): 33-45.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา.กรุงเทพฯ : มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2559). “การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการมีจิตอาสาของเยาวชนในสถาบันอุดมศึกษาภาคตะวันออก” วารสารวิชาการศรีปทุม. 12(4): 14-23.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). สถิติจำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขนจำแนกตามคณะ. กรุงเทพฯ : สำนักทะเบียนและประมวลผล.
สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. (2552). ถนนบัณฑิตอาสา: 40 ปี สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. กรุงเทพฯ : สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย ศรีสุนทรโวหาร. (2556). “จิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยปทุมธานี.”วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 19 (5): 1-10.
สุวรรณ ขันตี และพรพิมล ประวัติรุ่งเรือง. (2558). จิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
วิชัย ภู่โยธิน และคณะ. (2551). หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินผลตามสภาพจริงเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อริสา สุขสม. (2552). การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อชุมชน. กรุเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. (2551). จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามโครงการพระราชดำริ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2555). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 23(1): 60-79.
Best, J.W. and Kahn, J.V. (2005). Research in Education. 10thed. Boston : Pearson Education Company.
Burke, J. and Larry, C. (2004). Educational Research. 2nded. Boston: Pearson Education Inc.
Kolb, D.A. (2015). Experiential Learning : Experience as the Source of Learning and Development. 2nded. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 607-610.
Payne, D. A. (2003). Applied Educational Assessment. (2nd ed.). Canada : Nelson Thomson Learning.
Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). “Indexes of Item-objective Congruence for Multiple Dimension Items.” International Journal of Testing, 3(2) : 163-171.
Authaipayak, D. Public Mind and Cultivation in early childhood. (Online). https://www. gotoknow .org /posts/467698, Feb 29, 2016.
Kantee, S. and Prawatroongruang, P. (2015). Public Consciousness of Undergraduate Students at Thanyaburi distric, Pathumtani Province. Bangkok : North Bangkok University.
Katekaew, C. (2016). A Development of Training Program on Public Consciousness for Students of Faculty of Education in Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Dissertation of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Burapha University.
Khumwong, U. (2008). Public Mind of Preschool Children by Groups Activities about Environment Problem According to Royal Project. Masters Project, Early Childhood Education, Srinakharinwirot University.
National Committee of Child and Youth Development, Ministry of Social Development and Human Security. (2017). National Child and Youth Development Plan No. 2, 2017-2021. Bangkok : Ministry of Social Development and Human Security.
Office of the Education Council. (2009). Educational Reform in the Second Decade (2009-2018). Bangkok : Office of the Education Council.
Office of the Higher Education Commission. Higher Education Development Plan No. 11. (2012-2016). Bangkok : Office of the Higher Education Commission.
Office of the National Economics and Social Development Commission. (2018). Economics and Social Development Plan No. 12 (2017-2021). Bangkok : Office of the National Economics and Social Development Commission.
Office of Volunteer graduates. (2090). Volunteer graduates Road : 40 Years of Office of Volunteer graduates. Bangkok : Office of Volunteer graduates.
Panpeng, Y. 2016. “ Communication on Supporting Voluntary-Spirit Youths in Eastern University.” Sripatum Chonburi Journal. 12(4): 14-23.
Photisita, C. and Others. (1997). Public Mind : Case Study of Bangkok Methopolitance. Nakhorn Prathom : Mahidol University.
Pooyothin, W. and Others. (2008). Citizenship Culture and Conduct of Life in Society (M.4-6). Bangkok : Aksorncharoentas.
Prangthong, N. (2014). “Public Mind and Active citizen in Democratic Spiritual Reflection.” Arts Journal Silpakorn University. 36(1) : 96-117.
Prateepladda, N., Phetpradub, P., Phongsirisan, P. and Siriwong, P. (2016). “The Social Construction Meaning, The Sources of the Meaning and the Process of Self Responsibility and Social Responsibility Behavioral of the Students of Princess Galyani Vadhana Institute of Music” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(1): 546-559.
Punna, K. (2016). Public mind can be created easily. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Registrar Office, Kasetsart University. (2016). Student’ Statistics of Faculty Classified in Kasetsart University, Bangkhen Campus. Bangkok : Kasetsart University.
Sawetchot, T. (2016). Public Mind. (Online). http://taamkru.com/th/, Feb 29, 2016.
Sooksom, A. (2009). Public Mind Development for Community. Bangkok : Dhurakit Pundit University.
Srisoonthornvoharn, S. (2013). “Public Mind towards Pathumtani University.” Pathumtani University Journal. 19 (5): 1-10.
Suthirat, C. (2010). Teaching of Public Mind for Children. 4thed. Bangkok : V-Print.
Tagontong, N. (2014). “ Public Mind and Desirable Characteristics of Thai Youth”. Journal of Educational Measurement. 31(89): 33-45.
Throngsunthornwong, C. (2003). Human and Environment. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.
Watanasirithum, P. and Sunjorn, S. (2000). Desirable Concience of Thai. Bangkok : Rural Restoration Foundation of Thailand under Royal Patronage.
Wongmontha, A. ( 2012). “Factors Affecting towards Public Mind of Prince of Songkla University's Students. Journal of Education of Songkla University. 23(1): 60-79.
Yingruxpund, U. (2007). The Effect of Using the Integrated Simulation Teaching Technique with Authentic Assessment on the Fifth Grade Students’ Public Mind. Master thesis, Educational Measurement, Srinakharinwirot University.
Yimwilai, C. (2007). Public Mind. Matichon Weekly. (June 15, 2007) : 27.