ข้อเสนอสำหรับการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงนโยบายและการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

นพพล อัคฮาด

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงนโยบายและการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นต่อกรอบมโนทัศน์ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากการอาศัยข้อมูลการศึกษาแบบกรณีศึกษาในระยะหนึ่งมาก่อนแล้ว หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นต่างๆ มาสังเคราะห์และตีความตามที่สอดคล้องกับกฎหมาย นโยบาย และยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ข้อเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเชิงนโยบายและการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกี่ยวข้องกับองค์กร 4 ประเภท ได้แก่ 1. องค์การทางราชการสังกัดราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. องค์การอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาล และ 4. องค์กรชุมชนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผู้ไทในพื้นที่ และเมื่อพิจารณาประกอบกับนโยบาย ระเบียบกฎหมาย และแผนแม่บทที่เกี่ยวข้อง สามารถเสนอแนวทางที่ใช้เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและการจัดการได้ 7 แนวทางดังนี้ 1. การส่งเสริมวางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ  2. การประสานงานและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบริการการท่องเที่ยว 3. การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 4. การส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 5. การส่งเสริมการวางมาตรการเพื่อป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อย 6. การส่งเสริมการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรท่องเที่ยวชุมชนที่มีศักยภาพร่วมกันและ 7. การส่งเสริมด้านการประชาสัมพันธ์และตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผู้ไท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กชธมน วงศ์คำ. (2555). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ที่ยั่งยืนในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6 (3): 161 - 172
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2561). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว.
กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับ 7. กรุงเทพฯ:
เอกเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย
นานาชาติ, 13 (2): 25 – 46
นฤมล เกษมสุข. (2560, 26 พฤษภาคม). ททท.ดันท่องเที่ยว 4.0 เคลื่อนเศรษฐกิจ.[ข้อมูล
อิเล็คทรอนิคส์] กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นจาก
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/756663 (เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2561)
บุญทัน ดอกไธสง และ ปิยะนันต์ จันทร์แขกหล้า. (2559). การกำหนดนโยบายธุรกิจโฮมสเตย์ของไทย. รัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 3 (1) : 77-94.
พจนา สวนศรี. (2554). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อ
คุณภาพและชีวิต
สุเทพ ไชยขันธุ์. (2557). ผู้ไท ลูกแถน ภาค 2 สืบค้นรากเหง้าผู้ไทนานาชาติ จากนิทานพญาแถน.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน, องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน). (2561). กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
Ansell, Chris, and Gash, Alison (2008). “Collaborative Governance in Theory and Practice, Journal of Public Administration Research and Theory, 18 (4): 543–571
Bevir, M. (2012). Governance: A Very Short Introduction. New York : Oxford
Osborne, S. P., (Ed.) (2010). The New Public Governance? Emerging Perspective on
the Theory and Practice of Public Governance. New York: Routledge.
Rhodes, R.A.W. (1997). Understanding Governance : Policy Networks, Governance, Reflexivity, and Accountability. Buckingham, England : Open University Press.
Goldsmith, S. and William D. E, (2004). Governing by Network: The New Shape of Public Sector. Washington, DC. : The Brooking Institution.

Translated Thai References
Boontan Dokthaisong and Piyanun Chankheakla. (2016). Thai Home-Stay Business
Policy Formulation. Kasetsart University Political Science Review, 3 (1) : 77-94. [ in Thai]
Department of Local Administration. (2018). Tourism Promotion Standard. Bangkok:
Department of Local Administration. [ in Thai]
Kochtamon Wongkam. (2012). The Study of Strategies for Sustainable Home Stay
Tourism Management in the Northeastern Region. RMU.J. (Humanities and Social Sciences), 6 (3) : 161 – 172 [ in Thai]
Ministry of Tourism and Sports. (2017). Tourism Economic Conditions Report No. 7.
Bangkok: Excellent Business Management. [ in Thai]
Naruemon Kasemsook. (2017, May 26). Tourism Authority of Thailand Promotes Thai
Tourism 4.0 for Moving on Economy. [ Electronics version]. Bangkokbiznews. Retrieved from http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/756663 (Accessed September 8, 2018) . [ in Thai]
Natthaphach Manirote. (2017). Community Based Tourism Management. Journal of
International and Thai Tourism, 13 (2): 25 – 46. [ in Thai]
Office of Community Based Tourism, The Administrative Organization of Special Area
Development for Sustainable Tourism (Public Organization. (2018). Development process Community Based Tourism for Sustainable. Bangkok: The Administrative Organization of Special Area Development for Sustainable Tourism (Public Organization.[ in Thai]
Pojchana Suansri. (2011). Community Based Tourism Guideline. Bangkok: Tourism
projects forQuality and life. [ in Thai]
Suthep Chaiyakhan. (2013). E-saan People Background, Phu-Thai Special Series:
Bounder Link of One ASEAN Countries. Bangkok: Sukhaphab Chai. [ in Thai]