การเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะพลาสติกในตลาดสดของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการขยะพลาสติกในตลาดสดของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสำรวจตลาดสด 3 ประเภท ได้แก่ ตลาดชุมชน ตลาดเอกชน และตลาดรัฐวิสาหกิจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือการบริหารจัดการประสิทธิผลและความยั่งยืนขององค์กร Sustainable Balanced
Scorecard (SBSC) 6 มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล มิติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มิติการบริหารจัดการ มิติการเรียนรู้และพัฒนา มิติสังคม และมิติการจัดการสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษา พบว่าการบริหารจัดการขยะพลาสติกในตลาดสดของประเทศไทยแต่ละประเภทแตกต่างกันในรายละเอียดของมิติการบริหารจัดการ มิติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มิติการเรียนรู้และพัฒนา นำไปสู่มิติประสิทธิผลที่แตกต่างกัน โดยตลาดเอกชนและตลาดรัฐวิสาหกิจสามารถบริหารจัดการขยะพลาสติกได้อย่างครบวงจรและต่อเนื่อง จากนโยบายที่ชัดเจนและความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างแรงจูงใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมลดการใช้ถุงพลาสติก และเพิ่มมูลค่าของขยะพลาสติกทั้งในรูปของตัวเงินหรือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ตลาดชุมชนภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้มีการรณรงค์หรือดำเนินกิจกรรมลดการใช้พลาสติกจะเป็นในลักษณะของโครงการระยะสั้น ไม่ต่อเนื่อง
ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณและบุคลากร การจัดการขยะพลาสติกในตลาดสดจึงยังไม่ประสบความสำเร็จ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573. กรมควบคุมมลพิษ.
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). พิษโควิดทำพลาสติกระบาด: เรื่องสุขภาพที่เราลืมป้องกัน. https://greennews.agency/?p=21480.
เจนจีรา สีดาจิตร์ และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2556). เปรียบเทียบการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อในตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์และตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ: กรณีศึกษา ตลาดสดในพื้นที่จังหวัดเลย. file:///C:/Users/UltimateONE/Downloads/101226-Article%20Text-255037-1-10-20171011.pdf.
ณิชชา บูรณสิงห์. (2562). “ขยะพลาสติก”ปัญหาระดับโลกที่ต้องเร่งจัดการ. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=58603&filename=index.
รัชนีกร แท่งทอง. (2550). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในการพัฒนาตลาดสดเทศบาลตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. (การศึกษาอิสระ, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น).
วรรณธณี กองจันทร์ดี. (2555). การจัดการขยะของผู้ค้าในตลาดสด ศึกษากรณีตลาดสดบางกะปิ และตลาดสดนครไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
วราภรณ์ บุญศรี. (2556). การบริหารจัดการตลาดสดน่าซื้อ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบตลาดสดบางลำภูและตลาดสดเทศบาล 1 เทศบาลนครขอนแก่น. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปภัมภ์, 12(1), 180-190.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). มาตรการลดใช้พลาสติก กระทบธุรกิจ SME อย่างไร. https://www.kasikornresearch.com/SiteCollectionDocuments/analysis/k-social-media/sme/PlasticSME/PlasticSME.pdf
อุทุมพร เรืองฤทธิ์. (2560). ทัศนคติและการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการจัดการท่องเที่ยวตลาดลัดคลองมะยม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 33-43.
Jambeck et al. (2015). Plastic waste inputs from land into the ocean. Science, 347, 768-771.