ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สมาร์ทโฟนกับสัมพันธภาพในครอบครัว ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

SUPAPORN KUMRUANGRIT
ณิชากร เกตุกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สมาร์ทโฟนกับสัมพันธภาพในครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในปี 2564 จำนวนตัวอย่าง 400 ครัวเรือน ในตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าแต่ละครัวเรือนมีสมาร์ทโฟนอยู่ประมาณ 3 เครื่อง สมาชิกในแต่ละครัวเรือนมีสมาร์ทโฟนอยู่คนละ 1 เครื่อง ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนระหว่างทำกิจกรรมกับคนในครัวเรือนอยู่บ่อยครั้ง (46%) จำนวนชั่วโมงในการใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ยต่อคนต่อวันอยู่ที่ 3.18 ชั่วโมง สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สมาร์ทโฟนกับสัมพันธภาพในครอบครัวพบว่า หากครัวเรือนมีจำนวนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 1 เครื่อง ครัวเรือนจะมีคะแนนสัมพันธภาพในครอบครัวเพิ่มขึ้น 1.9 คะแนน (β=1.867, p-value= 0.008) และถ้าครัวเรือนมีจำนวนผู้ใช้ Facebook เพิ่มขึ้น 1 คน จะมีคะแนนสัมพันธภาพในครอบครัวเพิ่มขึ้น 0.8 คะแนน (β=0.751, p-value= 0.045) ในทางกลับกันถ้าแต่ละคนในครัวเรือนใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง ครัวเรือนจะมีคะแนนสัมพันธภาพในครอบครัวลดลง 0.5 คะแนน (β=-0.539, p-value= 0.049) ดังนั้นการใช้สมาร์ทโฟนไม่เพียงแต่ใช้เพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อปรึกษาพูดคุยกับคนในครอบครัวเมื่อไม่ได้อยู่ด้วยกัน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้แน่นเฟ้นยิ่งขึ้นได้ สมาชิกในครัวเรือนควรมีการจัดสรรเวลาในการใช้สมาร์ทโฟนในขณะที่อยู่ร่วมกันให้เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญญามาศ สังข์นาค และสุภาภรณ์คำเรืองฤทธิ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพและการเลี้ยงดูของครอบครัวกับการติดสมาร์ทโฟนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(25), 49-60.

นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2558). สื่อสารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุขในครอบครัว. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 737-747.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2558). เครือข่ายสังคมในสังคมเครือข่าย. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดฯ, 8(2), 120-127.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 173-178.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2560). สัมพันธภาพครอบครัวกับปัญหาการกระทำความผิดในวัยรุ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 361-371.

ศักดิกร สุวรรณเจริญ, สุพัตรา ธรรมาอินทร์, สุวัฒนา เกิดม่วง, อังค์ริสา พินิจจันทร์ และพรเลิศ ชุมชัย. (2562). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สมาร์ทโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 107-117.

ศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2542). หลักการวางแผนงานอนามัยครอบครัว. กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อภิสิทธิ์ นาคอ่อน และสุภาภรณ์ คาเรืองฤทธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6.

วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(2), 111-141.

Healthy Gamer. (2558). บทวิเคราะห์งานวิจัยสถานการณ์เด็กติดเกม มิถุนายน 2557. สืบค้นจาก www1.si.mahidol.ac.th/Healtygamer/download/academic/64135.

Parent one. (2020). พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ทำให้หนูน้อยติดสมาร์ทโฟน. สืบค้นจาก www.parentsone.com/zbehavior-of-parents-makes-childs-stick-smart-phone/.

Burns, J. (2017). Parents' mobile use harms family life, say secondary pupils. Retrieved from www.bbc.com/news/education-39666863.

Dijk, J.V. (2006). The network society. London: SAGE.

Daatland, S. O., & Herlofson, K. (2001). Ageing, intergenerational relation, care systems and quality of life – an introduction to the OASIS project. Oslo: Oslo Metropolitan University.

McChesney, K. Y., & Bengtson, V. L. (1988). Solidarity, intergenerational relations and cohesion in families: Concept and theories. Washington, DC.: American Psychological Association.

Wellman, B., Smith, A., Wells, A, & Kennedy, T. (2008). Networked Families. Retrieved from http://www.pewinternet.org/~/media/ Files/Reports/2008/PIP_Networked_Family.pdf.