ศักยภาพอาหารท้องถิ่น ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารท้องถิ่น กรณีศึกษาจังหวัดตรัง เมืองคนช่างกิน

Main Article Content

ทิพวัลย์ รามรง
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของอาหารท้องถิ่นจังหวัดตรัง ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารท้องถิ่นจังหวัดตรัง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ มีความรู้เกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น กลุ่มสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด และกลุ่มผู้ประกอบการอาหารท้องถิ่น จำนวน 9 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยผู้วิจัยได้แบ่งศักยภาพของอาหารท้องถิ่น ออกเป็น 5 ด้าน ผลวิจัยพบว่า 1) ด้านความยากง่ายในเข้าถึงอาหารท้องถิ่น สามารถเข้าถึงได้ง่ายเนื่องจากมีอาหารท้องถิ่นที่หลากหลาย และมีร้านอาหารเปิดให้บริการตลอดเวลา แทบจะ 24 ชั่วโมง 2) ด้านโอกาสในการใช้อาหารท้องถิ่นในการดึงดูดนักท่องเที่ยว มีโอกาสเป็นอย่างมาก เพราะจังหวัดตรังมีอาหารดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากมายหลายชนิด 3) ด้านการแสดงถึงวัฒนธรรมการกินของอาหารท้องถิ่น วัฒนธรรมการกินอาหารท้องถิ่นจังหวัดตรังสืบทอดมาจากชาวจีนที่เห็นเด่นชัดคือการนั่งร้านกาแฟในตอนเช้า ร้านกาแฟจึงเป็นแหล่งรวมพลของคนในจังหวัดตรัง 4) ด้านการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น จังหวัดตรังมีการนำวัตถุดิบภายในท้องถิ่นมาใช้ในการประกอบอาหารในบางส่วน แต่วัตถุดิบของอาหารท้องถิ่นหลักอื่นๆ จะซื้อมาจากจังหวัดอื่น หรือห้างสรรพสินค้าส่งขนาดใหญ่ เพราะมีความต้องการวัตถุดิบค่อนข้างมากกว่ากำลังผลิตในจังหวัด และ5) เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อาหารท้องถิ่นแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งความเป็นเมืองคนช่างกิน เป็นเมืองที่คนใจกว้าง มีน้ำใจ ชอบต้อนขับสู้แขกผู้มาเยือนด้วยอาหาร จึงให้ความสำคัญและพิถีพิถันในเรื่องอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย