“หวย” ในผู้สูงวัย สถานการณ์ ความรุนแรงของปัญหา และแนวทางลดผลกระทบ

Main Article Content

ทิพวัลย์ รามรง
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง
พรเทพ พัฒธนานุรักษ์
สมจิตต์ ปาละกาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาสถานการณ์ ความรุนแรง และแนวทางลดผลกระทบในการเล่นการพนัน (หวย) ของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการพนัน ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุจำนวน 16 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และแบบลูกโซ่ พบว่า 1) สถานการณ์ การเล่นหวย ของผู้สูงอายุ เป็นลักษณะการเล่นจะเป็นการเล่นแบบต่อเนื่องในระยะยาว เพราะค่อนข้างมีเวลาว่าง ไม่มีรายได้ มีรายได้น้อย พึ่งพิงการเลี้ยงดูจากลูกหลาน และสวัสดิการของรัฐ หวยจึงกลายเป็นความหวังในการเพิ่มรายได้ 2) ความรุนแรงของสถานการณ์การเล่นการหวย ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้น เช่น การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับหวยผ่านสื่อมวลชน การจัดชุดเลขเด็ด การเล่นในระบบออนไลน์ และระบบการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง ซึ่งผลกระทบคือภาระหนี้สิน สุขภาพจิตที่อาจจะเครียด และเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว และ3) แนวทางลดผลกระทบการเล่นหวยของผู้สูงอายุ ได้แก่ 3.1) ครอบครัวควรใช้การสื่อสารสร้างความเข้าใจด้วยเหตุและผล 3.2) ควรสร้างกลไกการให้ความรู้ในเรื่องการเท่าทันสื่อ 3.3) สร้างระบบให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการพนันในชุมชน 3.4) ควรสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการเสริมพลังแก่ชุมชน ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 3.5) ควรมีการตั้งหน่วยงานกลางกำกับ ตรวจสอบ เร่งรัด ประเมินผลการทำงาน และประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น 3.6) ควรมีการบริหารจัดการหวยรัฐบาลให้มีมาตรฐาน แก้ปัญหาหวยเกินราคา พร้อมทั้งสร้างมาตรการคุมเข้มหวยใต้ดิน และ 3.7) ควรมีการรณรงค์หยุดพนัน พร้อมกับการให้ความรู้ในเรื่องอื่น เช่น ความเท่าทันสื่อ และการจัดการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพงษ์ พงษ์ประชา. (2559). พฤติกรรมการเล่นหวยใต้ดินในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

ชื่นสุมล บุนนาค, วสันต์ เจนร่วมจิต. (2561). พฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มเจนเนอเรชั่น B, X และ Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธรุกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 15(1), 103-122.

นงนุช แย้มวงศ์. (2562). ผู้สูงวัยกับปัญหาติดพนัน ปัจจัยเสี่ยง คุณภาพชีวิต และผล

กระทบทางสังคม. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

รัชญา ณัทวรานนท์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของประชาชนในเขตอำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา].

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). มโนทัศน์ใหม่ของนิยามผู้สูงอายุ: มุมมองเชิงจิตวิทยา สังคมและสุขภาพ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2560). รายงานศูนย์ศึกษา ปัญหาการพนัน ปี 2560. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ. (2560). การศึกษาสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทย ประจำปี 2560. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

สมาคมดิจิทัลแห่งประเทศไทย. (2559). ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทย ไตรมาส 1 ประจำปี 2559. http://www.daat.in.th/index.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์ (2561). สถานการณ์การพนันในผู้สูงอายุ พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและนครราชสีมา. ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้เทนราษฎร. (2561). ปัญหาการพนันฟุตบอลโลก2018 กับเยาวชนไทย.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2550) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Dusenbery, D. (2009). Living at Micro Scale. Harvard University Press.

Fazio, R. & Olson, M. (2003). Implicit measures in social cognition research: Their meaning and use. Annual Review of Psychology. 54, 297-327.

Murray, R and J. Zentner. (1975). Nursing assessment and health promotion through the life span. Prentice-Hall.

Rudma, L. (2011). Implicit Measures for Social and Personality Psychology. SAGE.

Wade, C. & Tavris, C. (1999). Psychology. McGraw-Hall.

Zimbardo, P. & Gerrig, R. (1999). Psychology and Life. (5 th ed). Harper-Collins.