บทบาททรัพยากรท้องถิ่นต่อครัวเรือนเกษตรกร กรณีบ้านดอนหาด จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

สุนิตย์ เหมนิล
ธัชวรรธน์ หนูแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาบริบทชุมชน บริบททรัพยากรท้องถิ่น และบทบาททรัพยากรท้องถิ่นต่อวิถีการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง คือ บ้านดอนหาด จังหวัดอุดรธานี เก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน มัคนายกวัด และตัวแทนครัวเรือนเกษตรกร
รวมจำนวน 15 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ตีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์



ผลการศึกษาพบว่า บ้านดอนหาด ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2464 ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความเชื่อตามหลักพุทธศาสนาผสมผสานกับเรื่องผีบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ส่วนทรัพยากรท้องถิ่นที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกร ได้แก่ โคกหนองโน และลำน้ำห้วยหลวง ซึ่งทั้งสองได้มีบทบาทต่อครัวเรือนเกษตรกร 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านอาหาร 2. ด้านการสร้างรายได้ 3. ด้านปัจจัยการผลิต 4. ด้านการสร้างความสามัคคี และ 5. ด้านความเชื่อ ดังนั้น สำหรับครัวเรือนเกษตรกรทรัพยากรท้องถิ่นจึงมีบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเป็นสิ่งที่มองเห็นจับต้องได้เท่านั้น แต่ยังแฝงด้วยความเชื่อและกุศโลบายเป็นวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันและการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเหมาะสม จึงเป็นส่วนหนุนเสริมให้ครัวเรือนเกษตรกรมีความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับที่พอเพียง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุนิตย์ เหมนิล, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

-

References

กนกพร รัตนสุธีระกุล. (2557). การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของสังคมชาวนาลุ่มน้ำชีกรณีศึกษา บ้านหนองผือ ตำบลนาบัว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรศาสตร์และสังคมศาสตร์, 35(3), 447-459.

ชานนท์ ไชยทองดี. (2562). ผีชุมชนกับบทบาทของเรื่องเล่าต่อการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 10(2), 221-255.

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อินทนิล.

ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์. (2554). ชุมชนศึกษา (Community Study). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาพร อติวานิชยพงศ์. (2557). คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 103-127.

นิลวดี พรหมพักพิง, บัวพันธ์ พรหมพักพิง, มนต์ชัย พ่องศิริ, พรเพ็ญ โสมาบุตร และภัทรพร วีระนาคินทร์. (2562). ทรัพยากรธรรมชาติกับวิถียังชีพของครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยในชนบทอีสาน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(2), 123-144.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2559). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางสังคมของผีอีสาน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(32), 100-110.

ภัชราภรณ์ สาคำ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน: วิถีการสร้างความมั่นคงทางอาหารกับการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(2), 239-252.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้น.

วศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2562). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.

วิยุทธ์ จำรัสพันธุ์ และประสิทธิ์ คุณุรัตน์. (2543). ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคอีสาน.

ใน อานันท์ กาญจนพันธุ์ (บรรณาธิการ), พลวัตของชุมชนในการจัดการทรัพยากรสถานการณ์ในประเทศไทย, 215-282. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 9 อุดรธานี. (2550). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2550. สำนักงานสิ่งแวดล้อมที่ 9 อุดรธานี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). สืบค้นจาก http://sampraw.org/?cat=64.

อัจจิมา หิรัณยพิชญ์. (2549). ความเป็นพลวัตของการใช้ประโยชน์พืชอาหารป่าในป่าชุมชนของชาวปกาเกอะญอ: กรณีศึกษาบ้านห้วยส้มป่อย ลุ่มน้ำแม่เตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

อารี ถาวรเศรษฐ์. (2546). คติชนวิทยา. พัฒนาศึกษา.

อาแว มะแส. (2558). การส่งเสริมการดำรงชีพอย่างยั่งยืนในชนบท ด้วยการพัฒนาบนฐานชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 17(1), 89-110.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2558). ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน, วารสารนักบริหาร, 35(1), 104-113.