นวัตกรรมการจัดการศึกษาในโรงเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของรัฐ

Main Article Content

wasuthan bhanduaram

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการจัดระบบการศึกษาในโรงเรียนที่มีระบบพหุวัฒนธรรม 2) การจัดการศึกษาในโรงเรียนพหุวัฒนธรรมมีมิติที่สอดคล้องเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองของรัฐไทยโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา จังหวัดลำพูน 3) ส่งเสริมการจัดการศึกษาในโรงเรียนพหุวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองรัฐไทย  ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา จังหวัดลำพูน  โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีพหุวัฒนธรรม


ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา ด้วยการสร้างให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเข้าใจ และยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของแนวคิดวัฒนธรรมประเพณี และความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ลัทธิความเชื่อ 2) ความสอดคล้องของหลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ตามหลักประชาธิปไตย ไม่สร้างความแตกแยกให้เกิดในโรงเรียน ทำตนให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเปิดกว้างแต่ละชุมชนสู่สังคมอย่างเท่าเทียมกัน ให้ทุกคนในสังคมหันมาเข้าใจความแตกต่าง และสนใจเรียนรู้ความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่ 3) สร้างความเท่าเทียมให้กับสังคมการศึกษาในโรงเรียน ลดอคติและช่องว่าระหว่างครูกับนักเรียน 4) การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย : กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา จังหวัดลำพูน เพื่อนำเสนอรูปแบบและวิธีการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม พหุวัฒนธรรมที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม คือ ในสังคมโรงเรียนส่งเสริมเยาวชน และบุคลากรทางการศึกษา คือ ส่งเสริมการยอมรับในเรื่องความแตกต่างในเรื่องความคิดตลอด จนมีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกัน อันจะเป็นผลให้การอยู่ร่วมกันในชุมชนที่มีความหลากหลายอย่างมี ประสิทธิภาพ


ดังนั้นการเสริมสร้างความแข็งแรงของสังคมพหุวัฒนธรรมคือ ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาโดยหลักสูตรที่เสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเป็นการเตรียมนักเรียนสู่ความเป็นพลเมืองของรัฐไทย การสอดแทรกหลักสูตรนี้จะทำให้นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษายอมรับในวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นวิถีการดำเนินชีวิตหรือรูปแบบพฤติกรรมที่คนในสังคมเกิดการเรียนรู้แล้วสร้างหรือสมมุติกันขึ้นมา วัฒนธรรมจึงไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัวแต่สามารถลื่นไหลได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากการผสมผสานทางวัฒนธรรมมาโดยตลอด ทำให้วัฒนธรรมมีลักษณะซับซ้อนและหลากหลาย มีการผสมผสานเรียนรู้จากกันและกันตลอดเวลา หลักสูตรที่สอดแทรกความเป็นประชาธิปไตยจะสามารถสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาและสร้างการตระหนักรู้ต่อวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2557). การจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับเด็กชนเผ่าโรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่ชายขอบภาคเหนือ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6(1), 8-10.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). อุดมคติวิทยา : หลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสิษฏ์ นาสี. (2564). การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กประถมวัยในพื้นที่ชายขอบ. วารสารครุุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(1), 14-15.

มงคลกานต์ ฐิตธมฺโม, คงสฤษฎ์ แพงทรัพย์ และพูนศักดิ์ กมล. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย: กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 48-55.

ไทยน้อย ญาณเมธ และพระศิลาศักดิ์ สุเมโธ. (2562). รัฐกับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. วารสารมณีเชษฐาราม, 2(1), 81-83.