แนวคิดของฮิปปี้จากทรรศนะของรงค์ วงษ์สวรรค์ในวรรณกรรม หลงกลิ่นกัญชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สะท้อนแนวคิดของฮิปปี้ ในทรรศนะของรงค์ วงษ์สวรรค์ ผ่านวรรณกรรมกึ่งสารคดีเรื่อง หลงกลิ่นกัญชา ซึ่งเขาเขียนขึ้นจากประสบการณ์การเข้าไปมีชีวิตอยู่ร่วมกับคนกลุ่มนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างทศวรรษ 1960 - 1970 (ทศวรรษ 2503 - 2513) แนวการเขียนของรงค์ วงษ์สวรรค์จะมีลักษณะของการใช้ภาษาเฉพาะตัว หรือที่เรียกกันว่า “คำพูดของฮิปปี้” วรรณกรรมเรื่อง “หลงกลิ่นกัญชา” มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของฮิปปี้ และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจแบบทุนนิยมของสหรัฐอเมริกา ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งขบวนการฮิปปี้คือกลุ่มคนที่ปลีกตัวออกมาจากสังคมคนส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา พวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดวัตถุนิยม เพราะวัตถุนิยมได้ทำให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ลดน้อยลง จึงทำให้ฮิปปี้ได้พากันแยกย้ายออกจากครอบครัววัตถุนิยม และพากันแสวงหาความรักต่อกัน รงค์ วงษ์สวรรค์ ได้สะท้อนทรรศนะของเขาต่อกลุ่มฮิปปี้ผ่านวรรณกรรม “หลงกลิ่นกัญชา” ออกเป็น 6 ประเด็น คือ 1. ฮิปปี้กับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในสหรัฐอเมริกา 2. ฮิปปี้กับสงคราม 3. ฮิปปี้กับศาสนาตะวันออกและยาเสพติด 4. ฮิปปี้กับการแต่งกาย 5. ฮิปปี้กับบ้านเช่าและการมีเพศสัมพันธ์ และ 6. ฮิปปี้กับเหล้า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทร์ฉาย แซ่ก๊วย. (2530). ภาษาแหวกแนวในงานประพันธ์ของ รงค์ วงษ์สวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ณัฐพล สมบุญจันทร. (2559). ภาพสะท้อนของสังคมบรูไนในยุคก่อนประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการผ่านวรรณกรรมไทยเรื่อง “บุหลันลบแสงสุรยา-บรูไน” โดย’รงค์ วงษ์สวรรค์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ต่อพงค์ สุนทรากรณ์. (2554). แนวคิดเรื่องมนุษย์ในวรรณกรรมของ รงค์ วงษ์สวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ภูเชียงดาว. (2549). บางปรัชญาดิบ ของ 'รงค์ วงษ์สวรรค์(๗๔กะรัต), [เวบบล็อก]. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=puchiangdao&month=05-2006&date=19&group=1&gblog=11.
รงค์ วงษ์สวรรค์. (2533). หลงกลิ่นกัญชา. ฅนวรรณกรรม.
รังสรรค์ ธนะพรพันธ์. (2562). ชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคณบดี, [เวบบล็อก]. http://www.rangsun.econ.tu.ac.th/.
วิชา ทรวงแสง. (2521). วิเคราะห์งานประพันธ์ของ รงค์ วงษ์สวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
สกุล บุณยทัต. (2564) หลงกลิ่นกัญชา “ขบวนการล้มล้างศักดินาดอลลาร์” (Hippies Movement) [เวบบล็อก]. https://siamrath.co.th/n/221163.
สมร นิติทัณฑ์ประภาศ. (2553). ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1945 – ปัจจุบัน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมร นิติทัณฑ์ประภาศ. (2524). บทวิเคราะห์ “ยุคเงียบ” ของสังคมอเมริกันกึ่งศตวรรษที่ยี่สิบ : ผลระทบจากลัทธิธุรกิจยักษ์ใหญ่และลัทธิแมคคาร์ธี. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 2, (1 - 2).
สรณัฐ ไตลังคะ. (2557). คตินิยมสมัยใหม่กับเพศวิถี: กรณีศึกษาเฟื่องนครของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์กับเพื่อนหนุ่ม.วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10, (1), 9-49.
Dwi M. Nugroho, Muhammad J.B. Firdaus, Adam J. Wijaya. The Anti-War Movement through Romanticism of the Hippie Culture on Vietnam War 1965-1973. Jurnal Hubungan Internasional. 13, (2).
John Morton Blum. (1977). The National Experience : A History of the United States. California.
Nikola Červíková. (2018). The Hippie subculture and its impact on contemporary society. West Bohemia University.
Stephen T.F. Poon. Love, Peace and Psychedelia: the Role of Symbols in the Sixties Counterculture. International Journal of Multidisciplinary Approach and Studies. 3, (1).
Stuart Hall. (1968). The Hippies: an American ‘Moment’. University of Birmingham.
The Esaan Record. (2560). อีสานเขียว ฮิปปี้ที่ราบสูง, Facebook. https://theisaanrecord.co/2017/01/26/isaan-music-2017/.