การสูญเสียโอกาสในชีวิตและความคาดหวังทางสังคมผ่านมุมมองของผู้เคยเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดและบุคคลในครอบครัว ในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

nattawut wikromkraikit

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามว่าผู้เคยเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด และบุคคลในครอบครัว ในเขตพื้นที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา มองว่าผู้ติดยาเสพติดได้เสียโอกาสในชีวิตอย่างไร และมีความคาดหวังอะไรจากสังคม ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่เคยผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดไม่เกิน 1 ปี จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้ชายทั้งหมด มาจากการแนะนำของอาสาสมัครคุมประพฤติสำนักงานคุมประพฤติบัวใหญ่
โดยเป็นผู้ที่สมัครใจในการให้ข้อมูลและพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล 5 อันดับแรก และคนในครอบครัวผู้เคยผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เคยรับการบำบัดยาเสพติด และบุคคลในครอบครัวมีมุมมองว่า การโดนจับยาเสพติดทำให้เกิดการสูญเสีย และส่งผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัวหลายด้าน เช่นผลกระทบต่อด้านการงาน และมีรายได้ลดลง 2) ผู้เคยเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด และบุคคลในครอบครัวมีความคาดหวังว่าตนเองจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีการงานที่มั่นคง สังคมไม่รังเกียจและให้โอกาสในการกลับตัวเป็นคนดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2552). สรุปสาระสำคัญมติคณะรัฐมนตรีด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

วรางคณา จันทร์คง และปาจรีย์ ผลประเสริฐ. (2561). การสร้างความเชื่อมั่นในความสามารถตนเองของเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษาในการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 147-160.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2562). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2562.

สุรพล พรมกุล วิทยา ทองดี และทวีศิป์ สารแสน. (2562). การจัดการความรู้การป้องกันยาเสพติดของพระสงฆ์กลุ่มสังฆพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 163-179.

เทศบาลตำบลประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. (2565). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของตำบลประทาย.

โรงพยาบาลประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. (2564). รายงานสถิติผู้รับการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดในเขตพื้นที่โรงพยาบาลประทาย.

ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ และคณะ (2563) โครงการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากยาเสพติดระยะที่ 1. รายงานวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สรวงธร นาวาผล และพรรณี บัวเล็ก (2558) ศึกษาความสูญเสียทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา การใช้สิ่งเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(1), 152-180.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557).นิติศาสตร์ของระบบยุติธรรมทางอาญาของไทย. รายงานทีดีอารไอ, 2557(104), 3-16.

พิศมัย จารุจิตติพันธ์ และจรัสสา การเกษตร. (2562). ศึกษาความสูญเสียทางเศรษฐกิจของสังคมอันเนื่องจากการต้องขัง. วารสารวิชาการคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 14(2), 195-210.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). อมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิซซิ่ง.

จารุวรรณ กมลสินธุ์ และจิรนันท์ กมลสินทร์. (2563). ปัจจัยในการเข้ารับการบำบัดของผู้ติดยาเสพติดในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(3), 412-421.

ดลชัย ฮะวังจู อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ และดุสิตา พึ่งสำราญ. (2560). สถานการณ์การตีตราทางสังคมของผู้ใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาผู้รับการบำบัดสารเสพติดในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชน, วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(3), 276-288.

พัมธนันท์ คงทอง และอารดา หายักวงษ์. (2564). พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ค่ายศูนย์ขวัญจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 225-235.

บุญญฤทธิ์ ชลวิถี. (2555). การสื่อสารภายในบุคคลเพื่อการเลิกยาเสพติด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต. (2563). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 7(1), 1-19.

เรณู ไชยวุฒิ. (2560). การบูรณาการทุนทางสังคมของโรงพยาบาลตุลาการเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานศาลยุติธรรมในการบำบัด รักษา แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 10(1), 53-63.

รัชนีกร ตะม่าน. (2557). แนวทางการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ประชา ประสงค์ธรรม. (2557). แนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังชายในเรือนจำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา].

Besanko, D. Dranove, D. & Shanley, M. (2017). Economics of Strategy, John Wiley &Sons.

Robbins. (2001). Maslow,s Hierarchy of Needs. Retrived from http://www.businessballs.com.