โลกาภิบาลการลดปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

Main Article Content

ไพลิน กิตติเสรีชัย
สุจิตรา ต้นบุญ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการโลกาภิบาลในการแก้ไขปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับสากล ที่นอกจากจะส่งผลกระทบในประเด็นความมั่นคงด้านอาหารแล้วยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม  กระบวนการโลกาภิบาลในประเด็นนี้จะแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ได้แก่ การจัดการความรู้และสร้างความตระหนักรู้  การพัฒนาบรรทัดฐานและเผยแพร่ข้อแนะนำ และการทำให้บรรทัดฐานและข้อแนะนำดังกล่าวมีความเป็นสถาบัน ซึ่งในแต่ละกระบวนการประกอบไปด้วยตัวแสดงทั้งที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคประชาสังคม  บทความนี้ ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการโลกาภิบาลได้ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดมาตรวัดที่เป็นมาตรฐานในประเด็นนี้ และเกิดการแก้ไขปัญหาที่เปนไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นแล้ว กระบวนการต่าง ๆ ของโลกาภิบาลในประเด็นนี้ยังคงต้องดำเนินต่อไป โดยจำเป็นต้องเน้นการสร้างเครือข่ายของตัวแทนที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศ เพื่อทำให้ข้อแนะนำ และเป้าหมายที่วางไว้ในระดับระหว่างประเทศ มีความเป็นสถาบัน อันจะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่ยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กะรัตลักษณ์ เหลี่ยมเพชร. (2562). Food Waste ปัญหาร่วมระหว่างเรา และ โลก (1). https://tdri.or.th/2019/10/food-waste/.

ขวัญคณิศร์ อินทรตระกูล และณัฐฐา เพ็ญสุภา. (2563). การสูญเสียอาหารและขยะอาหารในประเทศไทยและแนวทางการแก้ปัญหา. วารสารเกษตรนเรศวร, 17(2), 1-15.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2561). อาหารกินได้ที่ถูกทิ้ง แก้ได้จริงหรือ. https://krua.co/food_story.

วิชชุ ชาญณรงค์. (2563). Freegan ขบวนการเก็บขยะกู้โลก. https://onceinlife.co/freegan.

เสถียร ฉันทะ และคณะ. (2560). “สำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทยและทางเลือกมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ สังคม และกฎหมาย” เป้าหมายที่ 2 (รายงานผลการวิจัย). https://sdgmove.files.wordpress.com/2017/04/final-report-sdgs-goal-2.pdf.

Krasner, S. D. (1982). Structural Causes and regime consequences: regRmes as intervening variables. International Organization, 36(2), 185-205.

Lester, D. (2021). 7 best food waste apps for more sustainable eating habits. https://www.independent.co.uk/extras/indybest/gadgets-tech/best-food-waste-app-earth-day-b1835617.html.

Mccafferty, Hugo. (2022). Food answers: which countries have laws against food waste?.https://www.finedininglovers.com/article/food-answers-which-countries-have-laws-against-food-waste.

Parfitt, J., Barthel, M., & Macnaughton, S. (2010). Food waste within food supply chains: quantification and potential for change to 2050. Philosophical Transactions: Biological Sciences, 365(1554), 3065–3081.

Smithers, Rebecca. (2007). Campaign launched to reduce UK's £8bn food waste mountain. https://www.theguardian.com/environment/2007/nov/02/waste.greenpolitics.

TDRI. (n.d.). ขยะอาหาร เรื่องใกล้ แต่ใหญ่กว่าที่คิด (Food waste: the close to home issue that is bigger than you think). https://tdri.or.th/foodwaste/.

ThaiPublica. (2018). วิกฤติขยะอาหาร (3) มาตรการ นโยบายในระดับโลก และความเป็นไปได้ในประเทศไทย (Food waste crisis (3) measures, global policies and the possibility in Thailand).

https://thaipublica.org/2018/03/foodwaste-tesco-3/.

ThaiPublica. (2019). กระทรวงทรัพย์ฯ จับมือเทสโก้ โลตัส – หอการค้าไทย ประกาศ “ลดขยะอาหาร”ลงครึ่งหนึ่งในปี 2030 (Ministry of Natural Resource and Environment in collaboration

with Tesco Lotus and the Thai Chamber of Commerce to reduce food waste in half by 2030). https://thaipublica.org/2019/11/thailand-foodwaste-1/.

The Business Download. (2022). FOOD WASTE STARTUP TOO GOOD TO GO LAUNCHES IN CALIFORNIA. https://thebusinessdownload.com/food-waste-startup-too-good-to-go-launches-in-california/.

The Momentum. (2018). เหลือทิ้ง แล้วไปไหนต่อ ภาพยนตร์สารคดีชวนตระหนัก ปัญหาอาหารขยะ (Waste and then what?). https://themomentum.co/advertorial-tesco-lotus-foodwaste-documentary/.

UNEP. (2022). Why the global fight to tackle food waste has only just begun. https://www.unep.org/news-and-stories/story/why-global-fight-tackle-food-waste-has-only-just-begun.

USU Digital Exhibits. (2022). History of food waste. http://exhibits.lib.usu.edu/exhibits/show/foodwaste/timeline.

Weiss, T., & Thakur, R. (2014). The United Nations meets the twenty-first century: confronting the challenges of global governance. In M. B. Steger P. Battersby, & J. M. Siracusa,The SAGE Handbook of Globalization, 2, 489-504.

Winning Foods. (n.d.). A brief history of food loss. https://winningfoods.nl/a-brief-history-of- food-loss/.

Wong, Chloe. (2022). Food Waste in China and how the government is combating It. https://earth.org/food-waste-in-china/.

WRI. (n.d.). Food loss & waste protocol. https://www.wri.org/initiatives/food-loss-waste-protocol#.