พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการของประชาสังคมไทยด้านการจัดการทรัพยากร หลังปี พ.ศ. 2549
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “พลวัตแนวคิดและปฏิบัติการของประชาสังคมไทยด้านการจัดการทรัพยากร หลังปี พ.ศ. 2549” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพลวัตแนวคิดและปฏิบัติการของประชาสังคมไทยด้านการจัดการทรัพยากร หลังปี พ.ศ. 2549 ผ่านปฏิบัติการผลักดันโฉนดชุมชน และการคัดค้านนโยบายทวงคืนผืนป่าและการแก้ไขปัญหาป่าไม้ที่ดินของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ในบริบทการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ซึ่งมีความขัดแย้งทางการเมืองและรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ การแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาสังคมด้านทรัพยากรป่าไม้ที่ดินไม่มีความคืบหน้า ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนกลายเป็นปัจจัยเชิงบวกที่ทำให้ภาคประชาสังคมใช้ต่อรองกับรัฐ กระทั่งรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และได้ใช้อำนาจในการจำกัดเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งการจัดการทรัพยากรจนสร้างผลกระทบกับประชาชน ผลการศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชน เป็นแนวคิดหลักที่ขบวนการประชาสังคมใช้เพื่อต่อสู้เพื่อการจัดการทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัญหาป่าไม้ที่ดินในสามกรณีที่กล่าวมา ส่วนในเชิงปฏิบัติการ พบว่า ขบวนการประชาสังคมใช้ยุทธศาสตร์แทรกเข้าไปในพื้นที่ของรัฐ (Forward Infiltration) ผ่านการเมืองของอิทธิพล (The Politic of Influence) ด้วยการต่อต้าน การล็อบบี้ การให้ข้อมูลโดยใช้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อกดดันให้รัฐตอบสนองข้อเรียกร้อง ในขณะเดียวกัน ภาครัฐก็ตอบโต้ด้วยการแทรกเข้าไปในพื้นที่ของประชาสังคม (Backward Infiltration) ด้วยยุทธศาสตร์การเมืองของการแทนที่ (The Politic of Substitution) ผ่านระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2557
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา บุญชัย. (2558). สามทศวรรษของขบวนการเคลื่อนไหวด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อมกับความท้าทาย
ทางยุทธศาสตร์ในโลกาภิวัตน์. ใน เกศริน เตียวสกุล (บรรณาธิการ), รายงานการศึกษาบทบาท
ภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. (33 - 66). สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน. (2558). เปิดรายงาน Land Watch ผลกระทบคำสั่ง คสช. 64/57, 66/57 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ.https://tlhr2014.wordpress.com/2015/09/22/landwatch_report/.
คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน. (2552). จดหมายข่าวองค์กรพัฒนาเอกชน ฉบับ ต้นปีพุทธศักราช 2552 ประชาทรรศน์ การพัฒนาต้องมาจากประชาชน. องค์กรพัฒนาเอกชน.
ชัยวัฒน์ ม่านศรีสุข, จุมพล หนิมพานิช และ ชมภูนุช หุ่นนาค. (2560). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม :
ศึกษากรณีของการปฏิรูปและการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนในประเทศไทย. https://ird01.stou.ac.th/researchlib/ShowDataResearch.php?AutoID=2563_057.
ชูชัย ศุภวงศ์ และ ยุวดี คาดการณ์ไกล. (2540). ประชาสังคม : ทรรศนะนักคิดในสังคมไทย. มติชน.
เชษฐา ทรัพย์เย็น. (2547). พัฒนาการความคิดประชาสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์. (2560). พลวัตกรอบความคิดและการเคลื่อนไหวของขบวนการแพทย์ชนบท : ความขัดแย้งและการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2560). การเมืองไทยร่วมสมัย. ซัน แพคเกจจิ้ง.
บุญชู ณ ป้อมเพชร. (2555). สิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญไทย. วารสารวิชาการทางกฎหมาย, 5(2), 77 - 92.
ประชาไท. (2557). ทหารสกัดชาวบ้านชูปฏิรูปที่ดินห้ามเดินเข้ากรุง-จับทันทีที่ก้าวเท้ารณรงค์. https://prachatai.com/journal/2014/11/56418.
ประชาไท. (2561). พีมูฟยุติการชุมนุม หลังบรรลุข้อตกลงมีการตั้งกรรมการแก้ไขปัญหา.https://prachatai.com/journal/2018/05/76872.
ประชาไท. (2561). สถิติคุกคามประชาชนยุค คสช. นับพัน ศูนย์ทนายความฯ ชี้ต้องจัดการกฎหมายที่ออกโดย คสช. https://prachatai.com/journal/2018/05/76985 .
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2561). การเมืองบนท้องถนน ภาคประชาชน/ประชาสังคมบนเส้นทางการสร้าง
และการจรรโลงประชาธิปไตยไทย. ใน สุวิมล มีแสง สมจิต จันทร์เพ็ญ และนิติพงษ์ ศรีระพันธ์
(บรรณาธฺการ), การสร้างและการจรรโลงประชาธิปไตยไทยในประบทเรียนและประสบการณ์ประชาสังคม. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2541). การเมืองบนท้องถนน 99 วันสมัชชาคนจน และประวัติศาสตร์การเดินขบวนชุมนุมประท้วงในสังคมไทย. ต้นตำรับ.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มแม่น้ำโขง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เมธี สิงห์สู่ถ้ำ. (2553). รายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดิน
อย่างยั่งยืนโดยประชาชน. www.landactionthai.org.
สงวน นิตยารัมพงศ์ และสุรพล มุละดา. (2544). จากรากหญ้าถึงขอบฟ้า อดีต ปัจจุบัน และอนาคตขององค์กรพัฒนาเอกชนไทย. คบไฟ.
สมชัย ภัทรธนานันท์. (2559). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการประท้วงทางการเมือง. มาตา การพิมพ์.
สมภพ ดอนดี. (2559). พลวัตขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปที่ดินหลังรัฐธรรมนูญ 2540 : กรณีศึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]
สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ และธีรวัฒน์ ขวัญใจ. (2561). ในศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (บรรณาธิการ).
ตุลาการธิปไตย ศาล และการรัฐประหาร. เฟิสท์ ออฟเซท.
สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล. (2544). การสร้างประชาสังคมโดยรัฐ : การปรับตัวของรัฐไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
อัจฉรา รักยุติธรรม. (2557). การเมืองของการลดทอนความเป็นการเมือง: การปรับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน รัฐและประชาชน. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/287597.
อุเชนทร์ เชียงเสน. (2556). ประวัติศาสตร์การเมืองภาคประชาชนความคิดและปฏิบัติการของนักกิจกรรมทางการเมืองในปัจจุบัน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
โอฬาร อ่องฬะ และวัชรพล พุทธรักษา. (2563). แม่แจ่มโมเดล : ปฏิบัติการและการเคลื่อนไหวช่วงชิงพื้นที่
ทางความคิด. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 21 - 46.
Snow, D. A., Vliegenthart, R., & Ketelaars, P. (2018). The Framing Perspective on Social Movements: Its Conceptual Roots and Architecture. In the Wiley Blackwell Companion to Social Movements (pp.392-410).
Klein, S., and Lee, C. (2019). Towards a Dynamic Theory of Civil Society: The Politics of Forward and Backward Infiltration. In Sociological Theory, 37(1), 62 - 88.
ผู้ให้สัมภาษณ์
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 19 สิงหาคม 2563).
ทวีศักดิ์ มณีวรรณ. (การสื่อสารส่วนบุคคล, 18 เมษายน 2566).