พลวัตการบวชแบบลาวในชุมชนบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

Varaditdhammasan Utairuang (Chatapayo)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาพลวัตการบวชแบบลาว ในบริบทการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนบ้านลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ศึกษาทั้งเอกสาร และลงพื้นที่วิจัยเก็บข้อมูล จากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน เจ้าภาพงานบวช ผู้เคยผ่านการบวช และชาวบ้าน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดพลวัตวัฒนธรรม


 ผลการศึกษาพบว่า การบวชในชุมชนบ้านลาดพัฒนาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยรูปแบบการบวชแบบลาวยุคจารีตนั้น ยึดโยงกับหลักพระธรรมวินัยที่เป็นพระอุปัชฌาย์มีคุณสมบัติตามหลักธรรมวินัยคือ มีพรรษาสิบ มีอันเตวาสิก เลื่อมใส และมีคุณสมบัติเป็นสัทธิวิหาริก พร้อมมีการจัดงานแบบประเพณีลาว ต่อมาภายหลังเมื่ออิทธิพลทางการเมืองของสยามได้เข้าปกครอง สยามรวมศูนย์อำนาจการปกครองคณะสงฆ์ ทำให้ผู้ที่เป็นอุปัชฌาย์ได้นั้น ไม่เพียงแค่มีคุณสมบัติตามพระธรรมวินัยเท่านั้น หากแต่ยังต้องได้รับการแต่งตั้งหรือรับรองจากองค์กรคณะสงฆ์ไทย พร้อมกับครอบงำวัฒนธรรมลาวให้เป็นแบบไทย ทั้งนี้ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ยังมีผลให้วัฒนธรรมการบวชเปลี่ยนแปลงทั้งการจัดงานบวชและระยะเวลาการบวช การบวชแบบลาวผ่านกรณีศึกษาบ้านลาดพัฒนา จึงพลวัตไปตามเงื่อนไขประวัติศาสตร์ การเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจอย่างเลื่อนไหล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิติรัตน์ สีหบัณฑ์. (2539). พระสงฆ์อีสานเข้ากรุงเทพฯ สมัยแรกๆ. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, 18(9), 1-172.

เชิดชาย บุตดี. (2555). ฮดสรงที่หดหาย. วารสารสำนักวิทยาบริการมหาลัยสงขลานครินทร์, 33(7), 72-85.

ดุษฏี อังสุเมธางกูร. (2526). การศึกษาคณะสงฆ์ ปัญหาที่แก้ไม่ได้หรือปัญหาที่ไม่ได้แก้. วารสารพุทธจักร, 37(6), 18-24.

ทวี พลรัตน์. (2540). ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย (ฉบับที่ 2). ธรรมสภา.

ธีระพงษ์ มีไธสง. (2557). ฮดสรง: ภูมิปัญญาพื้นบ้านพิธีเถราภิเษกพระสงฆ์ในภาคอีสาน. อภิชาติการพิมพ์.

นนท์ ธรรมสถิตย์. (2533). พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทย. กิติชัยสาส์น.

นฤดี น้อยศิริ. (2554). คู่มือการบวช. กรมส่งเสริมศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม.

นฤมล จิตต์หาญ. (2546). ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีบวชนาคช้างของชาวกูย: กรณีศึกษาหมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

นาฏนภา ปัจจังคะโต. (2536). บทบาทของคณะสงฆ์ในหัวเมืองอีสานในการสนับสนุนนโยบายการปกครองของรัฐ ระหว่าง พ.ศ.2435-2505. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร].

ปรีชา พิณทอง. (2534). ประเพณีโบราณไทยอีสาน. ศิริธรรมออฟเซ็ท.

พระเทพเวที. (2531). ปาฐถาธรรมเรื่องเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). จัดระเบียบสังคม ตามคตินิยมแห่งสังฆะ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). มูลนิธิ

พุทธธรรม.

พระธรรมวโรดม. (2545). คู่มือพระอุปัชฌาย์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). คณะกรรมการดำเนินการฝึกซ้อมอบรมพระอุปัชฌาย์ส่วนกลาง.

พระวินัยปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (ม.ป.ป). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุขี ชาครธมฺโม (ศรีมาตย์). (2553). “ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีการบวช: ศึกษากรณีตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น”. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

พุทธทาสภิกขุ. (2544). คำสอนผู้บวชพรรษาเดียว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุขภาพใจ.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2550). การพัฒนาเชิงบูรณาการของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

ปี 2549 : การเปรียบเทียบเชิงระบบโลจิสติกส์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยูคิโอะ ฮายาชิ. (2554). พุทธศาสนาเชิงปฏิบัติของคนไทยอีสาน ศาสนาในความเป็นภูมิภาค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส. (2514). ประมวลพระนิพนธ์ฯ การคณะสงฆ์. มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2551). ศาสนาประจำชาติ. สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม.

สำลี รักสุทธี. (2544). สืบสานตำนานงานบุญประเพณีอีสาน. พัฒนศึกษา.

อรทัย เลียงจินดาถาวร. (2545). การจัดสร้างฐานข้อมูลและเผยแพร่ประเพณีการดำรงชีวิตของชาวไทยอีสานบน. สำนักพิมพ์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.