การศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา ที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด ตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน
ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 4 ห้อง ห้องละ 15 คน รวม 60 คน (2) อาจารย์ที่สอนในรายวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน จำนวน 4 คน
ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากพื้นที่การวิจัย โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับนักศึกษา (2) แบบประเมินความพึงพอใจสำหรับอาจารย์ผู้สอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.32 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.64) ส่วนนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน (ค่าเฉลี่ย = 4.15 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.68) ผลการศึกษานี้กระตุ้นเตือนให้คำนึงถึงเรื่องแรงจูงใจ
ของผู้ใช้งาน (ผู้สอนและผู้เรียน) เป็นสำคัญ แรงจูงใจทำให้เกิดแรงผลักดัน สามารถช่วยพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าถึงการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย
เพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียนสนใจ เข้าใจและเรียนรู้ สร้างศักยภาพสูงสุดสู่การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่อการทำงาน สามารถช่วยเหลือผู้สอนในการจัดกิจกรรม และเพิ่มทางเลือกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในที่ทุกเวลาได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ. (2564). EducationPlan 2560 – 2574. http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf.
จักรพันธ์ พรมฉลวย. (2564). การจัดการศึกษาวิถีใหม่ภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 โดยการบูรณาการการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 5(1), 1-12.
ปิยาภัสร์ จารุสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจในการสอนวิชาการรู้สารสนเทศด้วย วิธีการเรียน
แบบมีส่วนร่วมและการสอนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. มนุษยศาสตร์สาร, 21(3), 43-62.
จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2564). MOOCs: การเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อออนไลน์. https://library.stou.ac.th/odi/ODIDistance/HTML/imega /PDF/ Distance21. pdf.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ชัชวนันท์ จันทรขุน, จิรวดี เหลาอินทร์, พรทิพย์ คุณธรรม และ มนัสชนก ยุวดี. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้งลำหิน (พูนราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(2), 49-64.
ณฐภัทร ติณเวส. (2558). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOCs ของอุดมศึกษาไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ไทยมูคส์ (2559). การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. http://web.sut.ac .th/hednet-nel/wp/wp-content/uploads/2016/02/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B 8%A2%E0%B8%A5%
E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8% B5%E0%B8%A2%E0%B8%94
Thai-MOOCS-2.pdf.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). สุวีริยาสาส์น.