วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง

Main Article Content

ชัยณรงค์ ศรีรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง โดยวิธีวิเคราะห์วาทกรรมตามกรอบคิดของ Fairclough (2010) รวบรวมข้อมูลภูมิสังคมและการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว และรายงานวิจัยเชิงพื้นที่ สังเคราะห์และนำเสนอข้อค้นพบด้วยการตีความ พบว่า วาทกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวจำแนก
ตามอุดมการณ์การพัฒนา คือ (1) วาทกรรมการพัฒนากระแสหลัก เป็นการผลิตซ้ำเชิงอุดมการณ์ทุนนิยม
เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ เขตพัฒนาการท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และเขตพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนใต้ และ (2) วาทกรรมการพัฒนากระแสรองที่ประกอบสร้างจากอุดมการณ์เพื่อสร้าง
ความมั่นคงของรัฐ มี 4 รูปแบบ ได้แก่ เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เขตพัฒนากลุ่มจังหวัดชายแดนใต้
เขตปกครองพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวาทกรรมการพัฒนาทั้งหมดล้วนถูกผลิตสร้างขึ้นจากองค์กรภาครัฐที่ใช้กลไกอ􀃎ำนาจ ความรู้ และยึดโยงกับพันธกิจองค์กร
ทำให้มีสนามทางวาทกรรมการพัฒนาที่ทับซ้อนกัน แฝงความแยบยลสำหรับฉกฉวยประโยชน์เชิงพื้นที่ลุ่มน้ำ
ที่เป็นสนามทางกายภาพเพื่อรองรับภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมตามภารกิจองค์กร ขาดการบูรณาการร่วมกันจนเป็นเหตุแห่งกระบวนการกลายเป็นอื่นที่ผลลัพธ์ห่างจากเป้าหมาย “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”จากการพัฒนาแบบแยกส่วน ประชาชนเป็นเพียงหน่วยนับและเหยื่อของวาทกรรมการพัฒนา เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การพัฒนาเชิงพื้นที่ นโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวควรยึดกรอบคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานตามยุทธศาสตร์ชาติ
และนำข้อมูลภูมิสังคมและภูมินิเวศพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็นฐานคิดในการออกแบบนโยบาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fairclough, N. (2010). Critical Discourse Analysis: The Critical Study of Language. Prentice Hall, Upper Saddle River.

Foucault, M. (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writing 1972-1977.

The Harvester Press.

Fischer, F. (1990). Politics, Values, and Public Policy: The Problem of Methodology. Westview.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2

(พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3

(พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชลิตา บัญฑุวงศ์. (2561). เศรษฐกิจและการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: การสำรวจเชิงวิพากษ์. ภาควิชาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น = Development discourse. (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิภาษา.

ชัยรัตน์ จุสปาโล. (2559). การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนท่องเที่ยวอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7.

ทรงสุข บุญทาวงศ์ และคณะ (2566). การบูรณาการจิตวิญญาณแห่งถิ่นที่สู่เป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนด้วยการจัดการประโยชน์เชิงพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และการท่องเที่ยว กรณีศึกษา พื้นที่ป่าต้นจากของชุมชนไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(3), 120-134.

ปกรณ์ลิ้มโยธิน และคณะ. (2562). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์การก่อความไม่สงบต่อการท่องเที่ยว

โดยชุมชนในสาม จังหวัดชายแดนใต้. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10.

ประเสริฐ ใจสม คณะ. (2563). บุพปัจจัยของความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารสันติศึกษา

ปริทรรศน์มจร, 8(1), 133-144.

นราวดี บัวขวัญ และคณะ. (2557). แผนงานวิจัยแนวทางการพัฒนามาตรฐานที่เหมาะสมกับการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้สู่อาเซียน. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย.

มนัสนันท์ จันทร์เพ็ง และ ปนายุ ไชยรัตนานนท์. (2558). แนวทางการลดผลกระทบด้านลบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเภทย่านชุมชนเก่า กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย

สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2922-2936.

มุกรวี ฉิมพะเนาว์. (2563). การศึกษานโยบายสาธารณะกับมุมมองเชิงวาทกรรม. วารสาร มจธ สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 293-305.

วรเทพ ว่องสรรพการ. (2561). วาทกรรมความเป็นไทยกับการควบคุมทางสังคม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(1), 124-157.

สุรสม กฤษณะจูฑะ และ ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ (2562). วาทกรรมและการสร้างความหมายการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 38-66.

อภิวัฒน์ สมาธิ และคณะ. (2561). การแก้ปัญหาความมั่นคงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาโครงการกำปงตักวาและโครงการพาคนกลับบ้าน. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(3), 45-59.