การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ : กรณีศึกษาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ Human Resource Development to become Security Strategists to tackle Non-Traditional Security : Case Study of the office of the National Security Council

Main Article Content

Surasee Buachan

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยใช้กรณีศึกษาของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำหรับส่วนแรกของบทความเป็นการนำเสนอแนวคิด ขอบเขต บริบท และสถานการณ์ความมั่นคงได้เปลี่ยนแปลงจากความมั่นคงดั้งเดิมไปสู่ความมั่นคงรูปแบบใหม่ ซึ่งทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สอง เป็นการอธิบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมิติเชิงทฤษฎี ส่วนที่สาม มุ่งเน้นวิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงที่รองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานธุรการของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เป็นกลไกเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนภารกิจงานด้านความมั่นคงของประเทศไทย ผ่านกรอบแนวคิดของลีโอนาร์ด แนดเลอร์โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้กำหนดยุทธศาสตร์และมีแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 3 แนวทาง ได้แก่ หนึ่ง การพัฒนาปัจเจกบุคคลผ่านการส่งบุคลากรเข้ารับการเรียนรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงและทักษะเชิงยุทธศาสตร์ สอง การพัฒนางานผ่านรูปแบบการทำงานที่ให้บุคลากรเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงและการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในกลไกขององค์กร และสาม การพัฒนาองค์การผ่านการปรับโครงสร้างองค์กรและการสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิชาการ และส่วนสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์

Article Details

How to Cite
Buachan, S. (2024). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่นักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเพื่อรองรับความมั่นคงรูปแบบใหม่ : กรณีศึกษาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ: Human Resource Development to become Security Strategists to tackle Non-Traditional Security : Case Study of the office of the National Security Council. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 50(2). สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/269919
บท
บทความวิชาการ

References

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2563, 19 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 22 ก หน้า 1-11.

จารุพล เรืองสุวรรณ. (2564). ความท้าทายบนความท้าทาย: การบริหารจัดการเพื่อรับมือภัยคุกคามความมั่นคงในยุคใหม่. www.polsci.tu.ac.th/direk/view.aspx?ID=500.

จุลชีพ ชินวรรโณ. (2557). โลกในศตวรรษที่ 21 กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญอนันต์ พินัยทรัพย์. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: ความรู้พื้นฐาน หลักการ และวิธีการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทโท, โยธี จันตะนี, ชาญชัย เพียงแก้ว, และศุภกิจ ภักดีแสน. (2565). รูปแบบการจัดการทุนมนุษย์: กรอบแนวคิดของ Leonard Nadler. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์, 7(3), 503-516.

พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559. (2559, 26 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 85 ก หน้า 1-8.

ศิริพร แย้มนิล. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สุจิตรา ธนานันท์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หจก. ทีพีเอ็นเพรส.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2562). รายงานผลการดำเนินงานสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2020/04/NSC-Report-2562.pdf.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2566). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570). https://www.nsc.go.th/wp content/uploads/2023/06/nsc_policy_66-70-2-.pdf

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). https://www.nsc.go.th/wp content/uploads/2023/05/ActionPlan5Years.pdf.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์องค์กร. https://www.nsc.go.th/วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ยุทธ/.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรพื้นฐาน 70:20:10 Learning Model (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์

Booth, K. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ : รวมเรื่องที่ต้องรู้ [International Relations: All That Matters] (จันจิรา สมบัติพูนศิริ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Buzan, B., Waever, O., and Wilde, J.D. (1998). Security: A New Framework for Analysis. Colorado: Lynne Rienner Publishers.

Hoang Dinh Phi, Nguyen Van Huong, Hoang Anh Tuan, and Nguyen Xuan Huynj. (2019). Management of Nontraditional Security: A New Approach. International Journal of Engineering, Applied and Management Sciences Paradigm, 54(1), 252-262.

Nadler, L., and Nadler, Z. (1989). Developing Human Resources (3rd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Rao,T.V., and Pereira,D.F. (1986). Recent Experience in HRD. Oxford: Oxford and IBH.

Williams, P.D. (2008). Security Studies: An Introduction. New York: Routledge.