บทบาทของผู้หญิงและความเป็นหญิงในสื่อกระแสนิยมประเภทชายรักชาย ในซีรีส์และมังงะ The Role of Women and Femininity in Boys’ Love in Series and Manga
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์วัฒนธรรมกระแสนิยมประเภทชายรักชายได้รับความนิยมและกลายเป็นความปกติใหม่ บนสื่อในสังคมไทย โดยเฉพาะมังงะวายและซีรีส์วายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานชายรักชาย พื้นที่สื่อเหล่านี้ ถูกผลิตซ้ำตลอดมาเช่นเดียวกันกับการประกอบสร้างบทบาทตัวละคร ผลการศึกษาพบว่าตัวละครผู้หญิงนั้นถูก ลดบทบาทและถูกประกอบสร้างจนกลายเป็นตัวละครที่เรียบแบน มากไปกว่านั้นยังคงใช้รูปแบบความรักแบบ ชายหญิงในการดำเนินความสัมพันธ์ของตัวละครชายรักชายทำให้เกิดตัวละครชายที่มีความเป็นหญิง (femininity) สูง ซึ่งเรียกว่านายเอก ความนิยมในการสร้างความเป็นหญิงในตัวละครชายมีพัฒนาการมาจนถึงการเกิดเป็นผลงานชายรักชายแนวโอเมกาเวิร์ส (Omegaverse) และ Mpreg ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการและทัศนะของผู้ชมที่ยังคงยึดติดกับเพศสภาพและรูปแบบความรักแบบชายหญิง รวมไปถึงความคาดหวังให้ตัวละครนายเอกได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับตัวละครเพศหญิง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2551). GENDER ความหลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: ออลอินวัน พริ้นติ้ง.
กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศภาวะและเพศวิถีกับเอดส์ศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์, 2550. http://library.nhrc.or.th/ULIB/dublin.php?&f=dublin&ID=6951
จันทร์จิรา ปัญญาภวกุล. (2555). เพศภาวะในมังงะวายและอะนิเมะวาย [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2555/social/social-2555-02.pdf
ชานันท์ ยอดหงษ์. (2021). วายคือวาย ไม่ใช่ LGBTQ? การปะทะกันของความหมายเพศชายรักกัน. The matter. https://thematter.co/thinkers/y-culture-and-lgbtq
ชีรา ทองกระจาย. (ม.ป.ป.). ความเท่าเทียมกันทางเพศสภาพ [เอกสารประกอบการสอนที่ไม่มีการตีพิมพ์]. https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile/82427-8.pd
ณัฐธนนท์ ศุขถุงทอง และ ภูวิน บุณยะเวชชวินี. (2562). Wai Series: A Preliminary Statistical Study ซีรีส์วาย: ข้อพิจารณาเบื้องต้นทางสถิติ. International Journal of East Asian Studies, 23(2) (2019), 360-383. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/easttu/article/download/241362/164388/834793
ถนัดกิจ จันกิเสน. (2563). ถอดบทเรียน LINE TV กับการดัน ‘ซีรีส์วาย’ ที่แมสแล้วจริงหรือ?. The Standard. https://thestandard.co/line-tv-y-series/
นฤมล กระจ่างโฉม. (2563). ภาพลักษณ์และบทบาทของตัวละครเอกหญิงในนวนิยายของ กฤษณา อโศกสินที่นำเสนอเป็นละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ.2560-2561 [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. http://www.cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2274
นัทธนัย ประสานนาม. (2565). ภาวะเควียร์ในนวนิยายยาโออิของ ร เรือในมหาสมุท. วารสารธรรมศาสตร์,41(1), 137-160. http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detailart.aspx?ArticleID=7931
นันทิชา ลือพืช. (2560). การสร้างความหมายและแสดงตัวตนของสาววาย ในพื้นที่ออฟไลน์และพื้นที่ออนไลน์ [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://cis.tu.ac.th/uploads/ci/academic-work/research-project/57nanticha.pdf
นุชณาภรณ์ สมญาต. (2561). การนำเสนอภาพ “ความรัก” ของชายรักชายผ่านซีรีส์วาย (Y): ลักษณะเฉพาะและการนำเสนอความรักของชายรักชาย. การนำเสนอโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. http://hs.ssru.ac.th/useruploads/files/20181003/718d4dc58fed4855031dd6d992543a161ccfabfa.pdf
นุชอาภา อาแว. (2561). ประวัติศาสตร์มังงะแนว Boy’s love : ภาพสะท้อนเรื่องเพศในสังคมญี่ป่นกับกระแสความนิยมในไทยช่วง 1996 – ปัจจุบัน [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/wp-content/uploads/2561/history/05580729.pdf
พีรดา ธนูศรี. (2562). แนวคิดและทัศนคติต่อความเป็นเพศจากรูปแบบของ Omega verse และการยอมรับในเอเชีย [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://isas.arts.su.ac.th/?p=3775
มณิสร วรรณศิริกุล. (2566). ‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?. Urbancreature. https://urbancreature.co/series-y-softpower-or-ruin-entertainment/
ศศิประภา พันธนาเสวี. (2559). วัฒนธรรมกระแสนิยมเกาหลีกับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและความงาม ของผู้บริโภคเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 30(96) (ตุลาคม -ธันวาคม 2559), 146-157. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/244526
สกุณา กวินยั่งยืน. (2552). สถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง :กรณีศึกษา บ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สิรภพ แก้วมาก. (2558). การสร้างตัวละครและวิธีการเลาเรื่องชายรักชายในสื่อบันเทิงไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/51103/1/5784879228.pdf
สุระชัย ชูผกา. (2558). มายาคติในการสื่อสารออนไลน์ของเว็บไซต์การพนัน, วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, ปีที่ 10(2) (เมษายน - กันยายน), 55-64. https://mac.ru.ac.th/wp-content/uploads/2018/08/-.pdf
โสภี อุ่นทะยา และ อนุชา พิมศักดิ์. (2560). SOTUS พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง: การประกอบสร้างอัตลักษณ์เพศนอกกรอบในนวนิยายรักวัยรุ่นแนววาย. วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal) [ฉบับพิเศษ], ปีที่ 6 (กันยายน 2560), 174-193. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/easttu/article/download/241362/164388/834793
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2556). การประชาสัมพันธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์. กรุงเทพมหานคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร จิรัฐติกร. (2559). วัฒนธรรมสมัยนิยม: ความหมายและกระบวนทัศน์. วารสารสังคมศาสตร์, ปีที่ 28(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม), 7-20. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/200896/140455