คุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชน ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย Desirable Characteristics and Local Leadership in the People's Perspective among the Multicultural Area of Tab Tao Sub-district, Thoeng District, Chiang Rai Province

Main Article Content

วรรณิศา แสงโรจน์
อรุณี อินเทพ
ประยูร อิมิวัตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และ 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีระดับความพึงประสงค์ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีระดับความพึงประสงค์ในระดับมาก และ 3) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์พบว่า มีคุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ แตกต่างกัน มีคู่ของกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างกัน จำนวน 4 คู่ คือ ม้งกับเมี่ยน ม้งกับพื้นเมือง เมี่ยนกับอาข่า และอาข่ากับพื้นเมือง

Article Details

How to Cite
แสงโรจน์ ว., อินเทพ อ., & อิมิวัตร์ ป. (2024). คุณลักษณะและภาวะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชน ในพื้นที่พหุวัฒนธรรมตำบลตับเต่า อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย: Desirable Characteristics and Local Leadership in the People’s Perspective among the Multicultural Area of Tab Tao Sub-district, Thoeng District, Chiang Rai Province. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 50(2). สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/274591
บท
บทความวิจัย

References

ณหทัย เลิศหล้า. (2561). ทัศนคติของประชาชนต่อคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลกุ่มหัก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. (2562, เมษายน 16). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 50. น. 151-163.

พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2564). พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์: อิทธิพลที่มีต่อเรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือของไทย. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ, 5(2), 96-115

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2556). ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ: LIFE MODEL. ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2549). แนวคิดพหุวัฒนธรรม. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สราลี คงบุญ. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความกระตือรือร้นของข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า. (2566). ฐานข้อมูลภูมปัญญาท้องถิ่นและประเพณีชาติพันธุ์ ตำบลตับเต่า. องค์การ.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2551).พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. อัมรินทร์.

Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance. n.p.

Ralph M. Stogdill. (1974). Handbook of Leadership: A Survey of Theory and Research. n.p.