รูปแบบการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติ กรณีศึกษาตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • Kamonwan Wanthanang คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ประพันธ์ แสงทองดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ประกร ฤทธิญาติ เทศบาลตำบลบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การออม, แรงงานนอกระบบ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, กองทุนการออมแห่งชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาภาวะการเงิน พฤติกรรมการออม ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติ และความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของแรงงานนอกระบบ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของแรงงานนอกระบบในกองทุนการออมแห่งชาติ และ 3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติ ประชากรของการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแรงงานนอกระบบในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างมาจากสุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวน 400 คน กรณีเป็นแรงงานนอกระบบที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 50 คน ประชากรของการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มอาชีพ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม คำถามในการสนทนากลุ่ม และแบบติดตามผลเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ และการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงงานนอกระบบมีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 12,962.50 บาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 7,725 บาท  ภาระหนี้สินต่อเดือนเฉลี่ย 3,565.50 บาท พฤติกรรมการออมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับกองทุนการออมแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลาง  และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง  2) รายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน  ภาระหนี้สินต่อเดือน และพฤติกรรมการออมส่งผลต่อการออมของแรงงานนอกระบบในกองทุนการออมแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) รูปแบบการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติเป็นการจัดโครงการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติแก่แรงงานนอกระบบจำนวน 50 คน การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการพบว่า แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่วางแผนจะออมเงินในกองทุนการออมแห่งชาติ ภาพรวมผลสัมฤทธิ์ของโครงการอยู่ในระดับมาก

References

Charoenpanich, S. (2013). Saving Patterns of Informal Workers in Maehia Sub District, Mueang District, Chiang Mai Province. Master of Economic, Chiang Mai University. [In Thai]

Jadesadalug, V & Nuangplee, T. (2018). Behavior and Factor Affecting Saving of the Elders In Muang district, Nonthaburi province, Veridian E-Journal. 11(1), 3061-3074. [In Thai]

Jumroon, M. (2017). Factors Affecting Saving Decisions in National Savings Fund of Informal Employees in Bangkok. Master of Business Administration (Finance), Rajamangala of University of Technology Thanyaburi. [In Thai]

Kangwanpornsiri,K & Angsuchoti,S. (2012). Approaches and Measures in Promoting Elder Saving in Accordance with Philosophy of the Sufficiency Economy: A Case Study of Nonthaburi Province. Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]

Netiparatanakul, P . (2014). Self-Employed Workers in Thailand: Are They Ready for Aging Society?, Thammasat Journal. 33(3), 135-148. [In Thai]

Nongkhoo,A & Nunthaphad, P. (2016). The Analysis of Saving Forms for Old Age in Thailand and Foreign Countries. Journal of Business Administration, 5 (1) 145-153. [In Thai]

Nuchnum, P & Siriwong, P. (2015). The Meaning and Origin of Saving, Saving Process, Saving Problems and Obstacles Based on The Philosophy of Sufficiency Economy of Government Officials of Kanchanaburi Provincial Administration Organization, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 398-415. [In Thai]

Pakkaratho, C. (2009). Knowledge, Understanding Attitude toward Sufficiency Economy of Lower Secondary School Students in Chalermprakiad District Buriram Province. Master of Public Administration, Buriram Rajabhat University. [In Thai]

Pitipan, O. & Pithaksu, P. (2017). Factors Affecting Saving in National Savings Fund of the Self-Employment in Muang Krabi DIstrict Krabi Province. RMUTT Global Business and Economics Review. 12(1), 99-111.

Preecha, R. & Lakkanawanit, P. (2018). Decision–Making of Informal Workers in Muang District, Nakhon Si Thammarat Province to Save Money in the National Savings Fund, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3261-3279. [In Thai]

Ruenwong, T. (2009). Working Conditions of Labor in the Informal Economic Sector in Thailand. Master of Arts Program in Demography, Chulalongkorn University. [In Thai]

Technical Promotion and Support Office 1–12. (2016). Strategies to Promote Financial Saving in Adulthood to Prepare for Seniorhood. Technical Promotion and Support Office 1–12, Ministry of Social Development and Human Security. [In Thai]

The Secretariat of the House of Representatives. (2014). Operation Study of National Saving Fund. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives. [In Thai]

Wanthanang, K. (2017). The Policy Implementation Process of National Saving Fund. Proceeding of The RBRU Nation Conference 2017 and NCSAG 2017 19-20 January 2017, 173-181. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31