การสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีน COMMUNICATING THE FANTASY APPEAL THROUGH GRAPHIC DESIGN FOR TWEENS

Authors

  • ยศไกร ไทรทอง หลักสูตรผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การออกแบบเรขศิลป์, วัยทวีน, จุดจับใจ, ความเพ้อฝัน

Abstract

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ และหลักการออกแบบเรขศิลป์เพื่อหาแนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามโดยการทบทวนวรรณกรรมจากหนังสือการออกแบบเรขศิลป์ทั้งหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 7 เล่ม ผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลจากหนังสือทุกเล่มที่มีการกล่าวถึงซ้ำๆ กันคิดเป็นร้อยละ 50 ขึ้นไป เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกองค์ประกอบและหลักการออกแบบเรขศิลป์ที่มีความสำคัญ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า (1) องค์ประกอบเรขศิลป์ที่มีการกล่าวซ้ำกันร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ (1.1) สี ร้อยละ 100 (1.2) รูปร่าง ร้อยละ 100 (1.3) พื้นผิว ร้อยละ 100 และ (1.4) เส้น ร้อยละ 85.71 และ (2) หลักการออกแบบเรขศิลป์ที่มีการกล่าวซ้ำกันร้อยละ 50 ขึ้นไป ได้แก่ (2.1) ความสมดุล (2.2) จังหวะ (2.3) การเน้น และลำดับความสำคัญ และ (2.4) เอกภาพ โดยทุกหลักการคิดเป็นร้อยละ 57.14 จากนั้นได้นำแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากวัยทวีนอายุระหว่าง 8-14 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แยกเป็นวัยทวีนผู้ชาย 193 คน และวัยทวีนผู้หญิง 195 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้ชาย ได้แก่ แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบเป็นอย่างยิ่ง จำนวน 11 องค์ประกอบ และแนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 11 องค์ประกอบ (2) แนวทางในการสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้หญิง ได้แก่ แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบเป็นอย่างยิ่ง จำนวน 12 องค์ประกอบ และแนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ จำนวน 10 องค์ประกอบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] Chaudhari, Chetan; and Marathe, Milind. (2007). Marketing to Children – Issues & Remedies. Retrieved November 27, 2012, from http://dspace.iimk.ac.in/bitstream/2259/323/1/613-626.pdf.pdf
[2] Lindstrom, Martin. (2003). BRANDchild: Remarkable Insights into the Minds of Today's Global
Kids and their Relationships with Brands. London: Kogan Page.
[3] ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2546). การตลาดเด็กพันธุ์ใหม่วัยทวีนส์. กรุงเทพฯ: Higher Press.
[4] ยุทธิพงศ์ จิว; และ นิสา ดิษฐเจริญ, บรรณาธิการ. (2552). Tweens Power: The New New Segment. นิตยสารแบรนด์เอจฉบับเข้มข้นพิเศษ 8 (พฤศจิกายน): 105-112.
[5] Schmitt, Bernd; and Simonson, Alex. (1997). Marketing Aesthetic: The Strategic Management of Brands, Identity, and Image. New York: Free Press.
[6] ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principles: หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.
[7] Lauer, David A.; & Pentax, Stephen. (2012). Design Basics. 8th ed. Massachusetts: Wadswort.
[8] Puhalla, Dennis M. (2011). Design Elements: Form & Space. Massachusetts: Rockport.
[9] Samara, Timothy. (2007). Design Elements: A Graphic Style Manual: Understanding the Rules and Knowing When to Break Them. Massachusetts: Rockport.
[10] Landa, Robin. (2011). Graphic Design Solutions. 4th ed. Massachusetts: Wadswort.
[11] Hashimoto, Alan; and Clayton, Mike. (2009). Visual Design Fundamentals: A Digital Approach. Massachusetts: Course Technology.

Downloads

Published

2019-01-17

How to Cite

ไทรทอง ย. (2019). การสื่อสารจุดจับใจด้านความเพ้อฝันผ่านการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีน COMMUNICATING THE FANTASY APPEAL THROUGH GRAPHIC DESIGN FOR TWEENS. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences, 10(20, July-December), 117–131. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/166796