การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย (DEVELOPMENT OF PSYCHOLOGICAL WELL-BEING FOR THAI ELDERLY)
คำสำคัญ:
แบบวัดสุขภาวะทางจิต, ผู้สูงอายุไทย, คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ และ (2) ตรวจสอบโครงสร้างของสุขภาวะทางจิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 300 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทย มีจำนวน 24 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วยมาตราประเมินค่า 5 ระดับ (1) ไม่จริงเลย ถึง (5) จริงที่สุด การตรวจสอบโครงสร้างของสุขภาวะทางจิต ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่ 1 สนับสนุนว่าสุขภาวะทางจิตประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ (1) สภาวะทางอารมณ์จิตใจทางบวก (2) การพึ่งพาตนเอง (3) สัมพันธภาพทางสังคม (4) มีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และ (5) ความยืดหยุ่น นอกจากนี้ผลจากโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนอันดับที่สองพบว่าสุขภาวะทางจิตได้มาจากการรวมกันของ 5 องค์ประกอบ ผลจากตรวจสอบคุณสมบัติการวัดของแบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยพบว่า มีคุณภาพที่ดีทั้งความเชื่อถือได้ชนิดความสอดคล้องภายใน ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงตรงเชิงเอกนัย แบบวัดสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุไทยมีหลายมิติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งใช้ทดสอบทฤษฎีและพัฒนาองค์ความรู้สุขภาวะทางจิต
Downloads
References
[2] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ผลสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต ปี 2561. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N21-09-61-1.aspx
[3] Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A Visionary New Understanding of Happiness and Well-Being. New York: Free Press.
[4] Choochom, O., Sucaroman, A., Chavanovanich, J., & Tellegen, P. (2019). A model of self-development for enhancing psychological immunity of the elderly. The Journal of Behavioral Science. 14(1), 84-96.
[5] ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, และเอกอนงค์ สีตลาภินันท์. (2554). คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
[6] Ryff, C. D. (1989). Happiness Is everything, or is it? Explorations on the meaning of psychological well-being. Journal of Personality and Social Psychology. 57(6), 1069-1081.
[7] Butler, J., & Kern, M. L. (2015). The PERMA-Profiler: A Brief Multidimensional Measure of Flourishing. Retrieved from http://www.peggykern.org/questionnaires.html
[8] Diener, E. (1984). Subjective well-being. Psychological Bulletin. 95(3), 542-575.
[9] อรพินทร์ ชูชม. (2559). โครงสร้างของความสุขและสุขภาวะในจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. 6(2), 1-7.
[10] Henderson, L. W., & Knight, T. (2012). Integrating the hedonic and eudaimonic perspectives to more comprehensively understand wellbeing and pathways to wellbeing. International Journal of Wellbeing. 2(3), 196-221.
[11] Diener, E. (2000). Subjective well-being: The science of happiness and a proposal for a national index. American Psychologist. 55(1), 34-43.
[12] Watson, D., Clark, L. A., & Tellegen, A. (1988). Development and validation of brief measures of positive and negative affect: The PANAS Scales. Journal of Personality and Social Psychology. 47, 1063-1070.
[13] Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995). The structure of psychological well-being revisited. Journal of Personality and Social Psychology. 69(4), 719-727.
[14] Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2001). On happiness and human potentials: A review of research on hedonic and eudaimonic well-being. Annual Review of Psychology. 52, 141-166.
[15] จิราพร เกศพิชญวัฒนา, และคณะ. (2543). สูงวัยไม่สูญค่า. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.
[16] กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ.
[17] กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. (2555). สุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุไทย. BU Academic Review. 11(2), 99-110.
[18] Diener, E., & Biswas-Diener, R. (2008). Happiness: Unlocking the mysteries of Psychological wealth. Malden, MA: Blackwell Publishing.
[19] Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis. Prentice-Hall: New York.
[20] Strainer, DL. (1994). Figuring out factors: the use and misuse of factor analysis. Canadian Journal of Psychiatry. 39(3), 135-140.
[21] Adams, T. B., Bezner, J., Steinhardt, M. A. (1997). The conceptualization and measurement of perceived wellness: Integrating balance across and within dimensions. American Journal of Health Promotion. 11(3), 208-218
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต