การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพภายในตนเอง เชิงสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ผู้แต่ง

  • พรหทัย ตัณฑ์จิตานนท์ สาขาศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคิดสร้างสรรค์, ประสิทธิภาพภายในตนเอง, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษากับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และเพื่อทำนายความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาจากการรับรู้ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และจากการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของตัวอย่างจำนวน 120 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชากรนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะชีวิต ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 360 คน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากแบบประเมินการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอน แบบประเมินประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวก หรือแปรผันตามกับการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ (rxy) เท่ากับ .729 และ .695 ตามลำดับ 2) การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของผู้สอนและประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสามารถทำนายหรืออธิบายการผันแปรคะแนนความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาได้ร้อยละ 74.7 และ 73.9 หรือมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) = 74.7 และ 73.9 ตามลำดับ

Downloads

References

Blaskova, M. (2014). Influencing Academic Motivation, Responsibility and Creativity. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 159, 415-425.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 151.

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. (2555). รายละเอียดของเนื้อหา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

Trompenaars, F., and Hampden-Turner, C. (2010). Riding the Waves of Innovation. New York: McGraw-Hill.

Andriopoulos, C., and Lowe, A. (2000). Enhancing Organizational Creativity: The Process of Perpetual Challenging. Management Decision, 38(10), 734-742.

Cumming, A., & Oldham, G. R. (1997). Enhancing Creativity: Managing Work Contexts for The High Potential Employee. California Management Review, 40(1), 22-38.

Tierney, P., Farmer, S. M., and Graen, G. B. (1999). An Examination of Leadership and Employee Creativity: The Relevance of Traits and Relationships. Personnel Psychology, 52, 591-620.

Kanter, R. M. (1983). The Change Masters: Innovation and Entrepreneurship in the American Corporation. New York: Simon & Schuster.

Tushman, M., and O’Reilly, C.A. (1997). Winning through Innovation: A Practical Guide to Leading Organizational Change and Renewal. Boston, MA: Harvard Business School Press.

Utterback, J.M. (1994). Mastering the Dynamics of Innovation. Boston, MA: Harvard Business School Press.

อรณิชชา ทศตา, และกชพร ใจอดทน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26(2), 64-77.

ปาริชาติ บัวเจริญ, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, และปวันรัตน์ บัวเจริญ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 7(1), 241-254.

Tierney, P., and Farmer, S.M. (2002). Creative Self-Efficacy: Its Potential Antecedents and Relationship to Creative Performance. Academy of Management Journal, 45(6), 1137-1148.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และความคิดสร้างของบุคคล. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2557). ประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์และการรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อและความคิดสร้างของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

DuBrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. 6th ed. Toronto: Houghton Mifflin Company.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. New York: New York University.

Di Lello, T. C., and Houghton, J. D. (2008). Creative Potential and Practised Creativity: Identifying Untapped Creative in Organizations. Creativity and Innovation Management, 17(1), 37-46.

Amabile, T.M. (1999). How to Kill Creativity. In Harvard Business Review on Breakthrough Thinking. Boston, MA: Harvard Business School Press, pp. 1-28.

Gardner, R.C., & Lambert, W.E. (1972). Attitudes and Motivation in Second Language Learning. Rowley, MA: Newbury House.

Guilford, J.P. (1980). Cognitive Styles: What are They? Journal of Educational and Psychological Measurement, 40(3), 715-735.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2547). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amabile, T.M. (1988). A Model of Creativity and Innovation in Organizations. Research in Organizational Behavior, 10, 123-167.

Mumford, M. D., and Gustafson, S. B. (1998). Creativity Syndrome: Integration, Application, and Innovation. Psychology Bulletin, 103(1), 27-43.

Woodman, R.W., Sawyer, J.E., and Griffen, R.W. (1993). Toward a Theory of Organizational Creativity. Academy of Management Journal, 18(2), 293-321.

Amabile, T.M. (1983). The Social Psychology of Creativity: A Componential Conceptualization. Journal of Personality and Social Psychology, 45(2), 357-376.

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman & Company.

Ford, C. M. (1996). A theory of Individual Creative Action in Multiple Social Domains. Academy of Management Review, 21(4), 1112-1142.

เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, อภิชาต กิตติศักดิ์นาวิน, และศรวิชา กฤตาธิการ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ขององค์การ และประสิทธิภาพภายในตนเองเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรบริษัทธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน). วารสารวิทยาการจัดการราชภัฏอุดรธานีมหาวิทยาลัย, 1(2), 1-17.

กนิษฐา พูลลาภ, ทรงศักดิ์ สองสนิท, และขจรพงษ์ ร่วมแก้ว. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20

How to Cite

ตัณฑ์จิตานนท์ พ. . (2022). การรับรู้การสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพภายในตนเอง เชิงสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 87–101. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/259758