การพัฒนาแบบสอบเขียนตอบ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อัศนีย์ ทองศิลป์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมลวรรณ ตังธนกานนท์ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณภัทร ชัยมงคล ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แบบสอบเขียนตอบ, การเขียนสรุปความ, เกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา และ(2) พัฒนาเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับแบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยแบบแยกองค์ประกอบในระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 287 คน โรงเรียนสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 โรงเรียน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบชนิดเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยผลการวิจัยพบว่า 1) แบบสอบเขียนตอบการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาสร้างขึ้นตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 วัดคุณภาพผู้เรียนด้านพุทธิพิสัยในระดับสังเคราะห์ เนื้อหาจากแหล่งการเรียนรู้นอกตำราเรียน ใช้คำศัพท์จากบัญชีคำพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ คัดเลือกประเภทบทอ่านตามหนังสือเรียนภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิตของกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ด้านการเล่าเรื่อง ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นแบบสอบชนิดเขียนตอบจำนวน 3 ข้อ 60 คะแนน เวลาสอบ 60 นาที ผลการวิเคราะห์ข้อสอบและแบบสอบพบว่า เป็นข้อสอบที่นำไปใช้ได้พิจารณาจากมีค่าความยากอยู่ในเกณฑ์นำไปใช้ได้ (p = 0.43-0.61) และสามารถจำแนกผู้สอบได้ (B-Index = 0.20 - 0.41) มีค่าความตรง (IOC = 0.56-1.00) และค่าความเที่ยงทั้งฉบับใช้ได้ (α = 0.60) ความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจและความเที่ยงภายในผู้ตรวจให้คะแนนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 2) เกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติการเขียนสรุปความภาษาไทยแบบแยกองค์ประกอบพบว่ามี 3 ด้าน 11 รายการ แบ่งเป็น ด้านเนื้อหา ได้แก่ ประเด็นสำคัญ และคัดลอกบทอ่าน ด้านวิธีสรุปใจความ ได้แก่ แสดงความคิดเห็น ยกตัวอย่าง อธิบายเพิ่มเติม เครื่องหมายวรรคตอน สรุปประเด็นผิด และสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และด้านภาษา ได้แก่ คำสะกดผิด ประโยคความเรียง และประโยคสมบูรณ์

Downloads

References

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบ O-NET ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Rezaei, A. R., and Lovorn, M. (2010). Reliability and Validity of Rubrics for Assessment Through Writing. Assessing Writing, 15(1), 18-39. Retrieved January 15, 2020, from https://eric.ed.gov/?id=EJ881105

เดลินิวส์. (2561, 3 กุมภาพันธ์). สทศ.มั่นใจโปรแกรมตรวจข้อสอบอัตนัยถูกต้อง-แม่นยำ. เดลินิวส์ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://www.dailynews.co.th/education/625229

บุญเสริม กิจศิริกุล. (2546). โครงการการทำเหมืองเว็บไทยโดยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องและการโปรแกรมตรรกะเชิงอุปนัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ghosh, S. (2010). Online Automated Essay Grading System as a Web Based Learning (WBL) Tool in Engineering Education. In D. Russell and A. Haghi (Eds.), Web-Based Engineering Education: Critical Design and Effective Tools (pp. 53-62). IGI Global. https://doi.org/10.4018/978-1-61520-659-9.ch005

Jang, E.-S., Kang, S.-S., Noh, E.-H., Kim, M.-H., Sung, K.-H., and Seong, T.-J. (2014). KASS: Korean Automatic Scoring System for Short-answer Questions. CSEDU 2014 - Proceedings of the 6th International Conference on Computer Supported Education, 2(1), 226-230. Retrieved December 22, 2021, from https://www.scitepress.org/Papers/2014/48643/48643.pdf

Ke, X., Zeng, Y., and Luo, H. (2016). Autoscoring Essays Based on Complex Networks. Journal of Educational Measurement, 53(4), 478-497. Retrieved December 5, 2021, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/jedm.12127

Yamamoto, M., Umemura, N., and Kawano, H. (2018). Automated Essay Scoring System Based on Rubric. Applied Computing & Information Technology. Retrieved October 12, 2021, from https://www.springerprofessional.de/en/automated-essay-scoring-system-based-on-rubric/13305202

Dikli, S. (2006). An Overview of Automated Scoring of Essays. Journal of Technology, Learning, and Assessment, 5(1), Retrieved October 22, 2021, from https://ejournals.bc.edu/index.php/jtla/article/view/1640/1489

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall. Retrieved October 22, 2021, from https://www.scirp.org

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On The Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 1(2), 49-60. Retrieved October 22, 2021, from https://eric.ed.gov/?id=ED121845

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564, จาก http://www.sp2.go.th/sp2/images/nitedtidtamandpramenpon/3/1/1.pdf

อัศนีย์ ก่อตระกูล, กมลา นาคะศิริ, วิสมัย มโนมัยพิบูลย์, ศิริพร แดงเที่ยง, วิภากร วงศ์ไทย, และทัศนาลัย บูรพาชีพ. (2541). การตรวจสอบไวยากรณ์และรูปแบบประโยคภาษาไทยโดยอัตโนมัติ. ใน รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ.

Association of American Colleges and Universities. (2018). Inquiry and Analysis VALUE Rubric. Retrieved October 4, 2021, from http://www.aacu.org/value/rubrics/inquiry-analysis

Matsushita, K. (2012). Assessment of the Quality of Learning Through Performance Assessment: Based on The Analysis of Types of Learning Assessment. Kyoto Univ, Japanse, 18(1), 75-114. Retrieved October 14, 2021, from http://link-springer-com-443.webvpn.fjmu.edu.cn/chapter/10.1007%2F978-981-10-5660-4_10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20

How to Cite

ทองศิลป์ อ., ตังธนกานนท์ ก., & ชัยมงคล ณ. (2022). การพัฒนาแบบสอบเขียนตอบ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนอัตโนมัติสำหรับการเขียนสรุปความภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(27, January-June), 206–218. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/259773