การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (PERCIVED SELF-EFFICACY ON PSYSICAL AND MENTAL HEALTH CARE BEHAVIOR IN COMMUNITY VILLAGE HEALTH VOLUNTEERS)
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 68 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน ผลการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 พบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .86 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 63.2
2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนโดยรวมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .79, p < .05) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน และด้านความมั่นใจในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r = .74, p < .05 และ r = .75, p < .05 ตามลำดับ) และด้านของความสามารถที่จะถ่ายโยงประสบการณ์อื่นมาใช้ในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน
มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .66, p < .05)
ผลการวิจัยข้างต้นทำให้บุคลากรทางสุขภาพทราบถึงการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนในแต่ละรายด้าน ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาการพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตชุมชนต่อไป
Downloads
References
[2] Cudjoe, T. M., Roth, D. L., Szanton, S. L., Wolff, J.L., Boyd, C.M., and Thorpe, R. J. (2018, March). The Epidemiology of Social Isolation: National Health and Aging Trends Study. Journals of Gerontology: Social Sciences. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov
[3] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/mental-health
[4] ประยุทธ์ แสงสุรินทร์, อัญธิกา ชัชวาลยางกูร, ชยานันต์ ประมวลเจริญกิจ, และณัฐวดี ศรีส่ง. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[5] กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2561-2564 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2562). สืบค้นจาก http://www.nakhonnayok.go.th
[6] สุพัตรา ศรีวณชชากร. (2551). การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: นโมพริ้นติ้ง.
[7] ฐิติมา อินทร์เนตร, อาภาพร เผ่าวัฒนา, และปาหนัน พิชยภิญโญ. (2554). การพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 41(1), 5-16.
[8] ประยุทธ แสงสุรินทร์, และคณะ. (2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
[9] ณฐา เชียงปิ๋ว, วราภรณ์ บุญเชียง, และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2561, มกราคม-มีนาคม). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร. 45(1), 87-99.
[10] Innets, T., Powwattana, A., and Pichayapinyo, P. (2011). Self-efficacy enhancement with participatory learning of health volunteer for promoting the health behavior of the elderly with hypertension. Journal of Public Health. 41(1), 5-16.
[11] Aljasem, A.I., Peyrot, M., Wissow, L., and Rubin, R.R., (2001). The Impact of Barriers and Self- Efficacy on Self-Care Behaviors in Type 2 Diabetes. The diabetes educator. 27(3), 393-404.
[12] นิธินันท์ เจริญบัณฑิตย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
[13] ประภาส อนันตา, และจรัญญู ทองเอนก. (2556). ผลของการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำาเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2555. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 20(1), 1-8.
[14] สม นาสอ้าน, และวิมลรัตน์ ภูผาสุข. (2553). ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 3(1), 45-61.
[15] Schwarzer, R., Antoniuk, A., and Gholami, M., (2015, February). A brief intervention changing oral self-care, self-efficacy, and self-monitoring. The British Psychological Society. 20(1), 56-67.
[16] Rice, E. (2015, July-August). Predictors of Successful Clinical Performance in Associate Degree Nursing Students. Nurse Educator. 40(4), 207-211.
[17] Giannitrapani, K.F., Soban, L., Hamilton, A. B., Rodriguez, H., Huynh, A., Stockdale, S., Yano, E. M., and Rubenstein, L. V., (2016, December). Role expansion on interprofessional primary care teams: Barriers of role self-efficacy among clinical associates. Health care. 4(4), 321-326.
[18] Bandura, A. (1977). Self-efficacy : Toward a unifying the try of behavioral change. New York.
[19] Thorndike, R. M. (1978). Correlation Procedures for Research. New York: Gardner Press Inc.
[20] อังคณา หมอนทอง. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวังกับพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. ปริญญามหาบัณฑิต (การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[21] Kima, K., Xueb, Q. L., Mossc, B. w., Noland, M. T., and Hana, H. R. (2018). Decisional balance and self-efficacy mediate the association among provider advice, health literacy and cervical cancer screening. European Journal of Oncology Nursing. 32, 55-62.
[22] ชนินทร์ งามแสง, ชัยธัช จันทร์สมุด, และลำพูน เสนาวัง. (2559). การจัดการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตตำบลไค้นุ่น อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 8(3), 59-66.
[23] ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต