ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน

ผู้แต่ง

  • วรนุช จันทะบูรณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • บัวพันธ์ พรหมพักพิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยระยะท้าย, ความอยู่ดีมีสุข, ชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน และระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้กรณีศึกษา เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ดังนี้ ผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้าย 2 คน ครอบครัวของผู้ป่วยระยะท้ายที่เสียชีวิตไปแล้ว 3 คน  ผู้บริหารและกลุ่มงานที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลสุขภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล 3 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเมืองพล 1 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพล 1 คน เจ้าหน้าที่จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพล 1 คน พระ 1 รูป ผู้นำชุมชน 2 คน อสม. 2 คน รวมทั้งหมด 18 คน ทำการเก็บข้อมูลในชุมชนแห่งหนึ่งของอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการตรวจสอบข้อมูลร่วมกับผู้ให้ข้อมูลหลัก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาความอยู่ดีมีสุขของผู้ป่วยระยะท้ายพบว่า ผู้ป่วยต้องการอยู่กับครอบครัวและญาติพร้อมหน้าพร้อมตา ได้รับการบำบัดความเจ็บปวดทรมานให้พอรับได้ ส่วนครอบครัวไม่อยากเห็นผู้ป่วยเจ็บปวดทรมาน ต้องการสนับสนุนทั้งด้านความรู้ และเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย โดยการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ เกี่ยวข้องกับองค์กรผู้ให้บริการได้แก่ องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาล ระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะท้าย แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ระบบการดูแลทางกายของผู้ป่วยระยะท้าย ตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยจะได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองและเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ 2) การดูแลด้านจิตใจ/จิตวิญญาณ คือ ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ เตรียมตัวจากไปแบบไม่มีความวิตกกังวล และได้ทำพิธีตามความเชื่อของตน 3) บทบาทของครอบครัวและชุมชน คือ ครอบครัวอบอุ่น ได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนตามความจำเป็น มีเพื่อนบ้านมาเยี่ยมถามอาการและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยระยะท้ายอยู่ดีมีสุขก่อนจากไป

Downloads

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2557. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2562, จาก http://www.dms.moph.go.th/

dmsweb/cpgcorner/แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย.pdf

Sepúlveda C, Marlin A, Yoshida T, and Ullrich A. (2002). Palliative care: The World Health Organization's global perspective. J Pain Symptom Manage, 24(2), 91-96.

Sawatzky R, Porterfield P, Roberts D, Lee J, Liang L, Reimer-Kirkham S, Pesut B, Schalkwyk T, Stajduhar K, Tayler C, Baumbusch J, and Thorne S. (2017). Embedding a palliative approach in nursingcare delivery: an integrated knowledge synthesis. Advances in Nursing Science, 40(3), 261-277.

Chaiviboontham, S. (2016). Palliative Care Model in Thailand. Retrieved May 1, 2019, from https://med.mahidol.ac.th/nursing/

Chronic/Document/Feb13/Feb13_PalliativeCare.pdf

World Health Organization (WHO). (2018). Integrating palliative care and symptom relief into primary health care: A WHO guide for planners, implementers and managers. Geneva: Switzerland.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557). แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการเสริมสร้างสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิต พ.ศ. 2557-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2556). แนวคิดและทฤษฏีการพัฒนา : จากความมั่งคั่งทางวัตถุสู่ความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Sen, A. (1985). Well-being, agency and freedom: The Dewey Lectures 1984. The Journal of Philosophy, 82(4), 169-221.

ชวาลา ละวาทิน. (2561). ความต้องการและความอยู่ดีมีสุขของพนักงานโรงงาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์, 12(1), 38-49.

รุ่งรัตน์ สุขะเดชะ, และดารุณี จงอุดมการณ์. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเด็กวัยเรียนที่เจ็บป่วยวิกฤต : การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 22-31.

พรเพ็ญ โสมาบุตร. (2560). ความอยู่ดีมีสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนศาสตร์บัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภัทรพร วีระนาคินทร์, และบัวพันธ์ พรหมพักพิง. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของชุมชนชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษา ชุมชนชนบทในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(3), 463-472.

บัวพันธ์ พรหมพักพิง, นิลวดี พรหมพักพิง, พรเพ็ญ โสมาบุตร, ภัทรพร วีระนาคินทร์, นพรัตน์ รัตนประทุม. (2561). การเปลี่ยนแปลงความอยู่ดีมีสุขของชนบทอีสานในรอบ 10 ปี พ.ศ. 2548-2559. ขอนแก่น: กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Doyal, L., and Gough, I. (1991). A Theory of Human Need. Basingstoke and London: Macmillan.

กนิษฐา จันทรคณา, และฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการดูแลตนเองและความสุขของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะท้าย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

จันทะบูรณ์ ว. ., & พรหมพักพิง บ. . (2022). ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(28, July-December), 151–165. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/263029