ผลและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, ความพึงพอใจ, ประสิทธิผล, นิสิตพยาบาลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นในวิชาวิจัยทางการพยาบาล รวมทั้งความพึงพอใจหลังการเข้าร่วม โดยรูปแบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยกึ่งทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 115 คน จะถูกสุ่มโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นควบคุม 57 คน และกลุ่มทดลอง 58 คน กลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับการสอนด้วยวิธีปกติร่วมกับการทำกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมนอกเวลาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง กิจกรรมประกอบด้วย การสร้าง Mapping ความรู้ การจับคู่ทำกิจกรรมและการศึกษากรณีศึกษา การวิเคราะห์ใบงานและกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยการอภิปราย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ทางสถิติเบื้องต้นที่ใช้ในงานวิจัยที่ศึกษาสนใจ การพบกลุ่มเพื่อสรุปสะท้อนคิดตามลำดับในแต่ละสัปดาห์เป็นเวลาทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินความรู้และการใช้สถิติเบื้องต้นในการวิจัยทางการพยาบาลก่อน-หลังการเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินความพึงพอใจหลังการเข้าร่วมกิจกรรม โดยเครื่องมือที่ใช้การวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหา (Index of Consistency: IOC) จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และได้ค่า IOC = 0.89 และการทดสอบค่าความเที่ยงตรงโดยสูตรการหา KR-20 ในส่วนของแบบประเมินความรู้เท่ากับ 0.82
และ Cronbach’s Alpha ในส่วนของแบบประเมินความพึงพอใจ เท่ากับ 0.79 ผลการศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเดียวกันก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า คะแนนความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้านความพึงพอใจระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
References
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2556). การเรียนรู้และการประเมินตสมสภาพจริง. ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวัดและประเมินผลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) วันที่ 4-5 มีนาคม 2556 โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). ขอนแก่น: สถาบันพัฒนาทรัพยกรมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2564). การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก www.mahidol.ac.th
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., and Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of education object: The classificaiton of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. New York: David McKay Company.
Gosling, L., and Edwards, M. (2003). Toolkits: A practical guide to asessment, monitor, review and evaluation. United Kingdom: Save the Children.
Chamber, R. (2008). Revolutions in Development Inquiry. Institue of Development Studies, Earthscan: London.
Kasa, Y. (2016). Improving Student's Participation in the classroom in chemistry freshman student at Assosa University: An Experimental Aciton Research. International Journal of Education, 1(1), 5-10.
ณาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา. (2553). พัฒนาพฤติกรรมการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียนวิชาหลักการตลาดโดยการสอนแบบมีส่วนร่วม (Active learning). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
นิรัตน์ อิมานี, อรุณ สิทธิโชค, และมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2558). ผลของกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารสุขศึกษา, 30(60), 43-56.
รังสินี พูลเพิ่ม, จันทนา โปรยเงิน, แสงจันทร์ สุนันต๊ะ, และนนทิกา พรหมเป็ง. (2561). ประสิทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 162-173.
ไพโรจน์ โรจนเบณจกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ตำบลหนองพลับ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 257-268.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Kamath, N., and Kiran, U. (2014). Effectiveness of participatory learning activity (PLA) cum lecture method on knowledge of nursing students in HIV/AIDS. Journal of Nursing and Health Science, 3(2), 18-21.
Ajiboye, J. O., and Ajitoni, S. O. (2008). Effects of full and quasi-participatory learning strategies on nigerian senior secondary students' environmental knowledge: Implications for classroom practice. International Journal of Environmental & Science Education, 3(2), 58-66.
Ibnouf, M. H., Sheqwarah, M. N., and Sultan, K. I. (2015). An evaluation of the participatory learning and action (pla) training workshop. Journal of Agricultural Science, 7(12). 144-150.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า, และชัดเจน ไทยแท้. (2565). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้นจาก http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm
Ghaith, O. (2013). The impact of blended learning on female student-teachers in kuwait. Brunei: Brunel University.
Duze, C. O. (2010). Effects of Participatory Learning Technique on Achievement and Attitude of B. Ed. Students in Educational Research Methods. Journal of Social Sciences, 22(3), 185-189.
Peng, C. A., Guo, L., Yusuf, N., and Daud, S. M. (2015). The teaching effectiveness and learners’ satisfaction in distance education of the undergraduate programme for In-service teachers. In: GREduc 2015: Graduate Research in Education Seminar. Serdang, University of Putra Malaysia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต