ความต้องการมีบุตรในอนาคต: หลักฐานเชิงประจักษ์จากสตรีที่สมรสในประเทศไทย (FUTURE DESIRE FOR CHILDREN: EMPIRICAL EVIDENCES FROM MARRIED WOMEN IN THAILAND)
คำสำคัญ:
สตรีที่สมรส, ความต้องการมีบุตร, Desire for Children, Married Womenบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแบบแผนความต้องการมีบุตรในอนาคตของสตรีที่สมรสในประเทศไทย รวมไปจนถึงทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคต โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรี พ.ศ. 2555 (MICS4) จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ สตรี อายุ 15–49 ปี ที่สมรส จำนวนทั้งสิ้น 15,661 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติไคสแควร์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคต จากการศึกษาสถานการณ์ความต้องการมีบุตรในอนาคต ในภาพรวม พบว่า สตรีที่สมรสมีความต้องการมีบุตรในอนาคต เพียงร้อยละ 18.8 และยังพบว่า สตรีที่สมรสที่อยู่ในกลุ่มแม่วัยใส อายุ 15–19 ปี มีความต้องการมีบุตรในอนาคต คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุดถึงร้อยละ 44.1 เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะและภูมิหลังของสตรีที่สมรสกับความต้องการมีบุตรในอนาคต ด้วยสถิติไคสแควร์ พบว่า สตรีที่สมรสที่มีลักษณะและภูมิหลัง อันได้แก่ อายุ อายุแรกสมรส การตั้งครรภ์ในปัจจุบัน ประสบการณ์การมีบุตรที่เสียชีวิต จำนวนบุตรที่มีชีวิต ภูมิภาค สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน และระดับการศึกษาสูงสุดที่แตกต่างกัน มีความต้องการมีบุตรในอนาคตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อทำการศึกษาแบบแผนความต้องการมีบุตรในอนาคต พบว่า สตรีที่สมรสที่มีอายุ 25–29 ปี มีความต้องการมีบุตรคนแรก และมีความต้องการมีบุตรคนที่สอง คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 74.9และ 50.5 ตามลำดับ) และสตรีที่สมรสที่มีอายุ 20–24 ปี มีความต้องการมีบุตรคนที่สาม และมีความต้องการมีบุตรคนที่สี่ (หรือมากกว่า) คิดเป็นสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 16.8 และ 9.8 ตามลำดับ)
Downloads
References
[2] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). การสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559,จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/fertility/fertilityFull.pdf
[3] นิพนธ์ เทพวัลย์. (2541). ประชากรศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
[4] เดลินิวส์. (2557, 1 กรกฎาคม). ชี้เด็กเกิดน้อยลง หวั่นขาดแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://www.dailynews.co.th/politics/249265
[5] ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์; และ ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2549). ประชากรไทยในอนาคต. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm
[6] วาสนา อิ่มเอม. (2557, 12 ธันวาคม). การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร: ไทยกับประเทศอาเซียน. ใน เอกสารนำเสนอในงานประชุมวิชาการ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับอนาคตการพัฒนาประเทศ. หน้า 6-16. กรุงเทพฯ: โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์.
[7] สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนประชากรในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). สำนักนายกรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://artculture.cmu.ac.th/images/uploadfile/depfile-150910140608.%E0%B8%A8
[8] Sikder, U. K. (2015, June-August). Empirical test of the Caldwell’s fertility theory of intergenerational wealth flows in India: evidence from National Family Health Survey Data. American International Journal of Research in Humanities. Arts and Social Sciences. 11(1): 77-80.
[9] Becker, G. S. (1960). Demographic and economic change in developed countries: Columbia University Press.
[10] Ross, J. L., Blangero, J., Goldstein, M. C., & Schuler, S. (1986). Proximate determinants of fertility in the Kathmandu Valley, Nepal: an anthropological case study. Journal of Biosocial Science, 18(2): 179-196.
[11] Fosu, M. O., Nyarko, I. P. R., & Anokye, M. (2013). The desire for last birth among Ghanaian women: The determinants. Research on Humanities and Social Sciences. 3(2): 122-129.
[12] สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish /themes/files/child-womenRep55.pdf
[13] วิทยา ถิฐาพันธ์. (2559). อายุของแม่กับการตั้งครรภ์. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/department /obstretrics_gynecology/dept_article_detail.asp?a_id=509
[14] อำนวย กาจีนะ. (2557, 21 พฤษภาคม). เด็กไทยเกิดใหม่น้อยลงแต่ยอดแม่วัยใสยังน่าห่วง. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://www.thairath.co.th/content/424172
[15] ฐิตินันท์ ผิวนิล. (2558, 4 กรกฎาคม). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย: การวิเคราะห์ข้อมูลสูติบัตรจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทย ครั้งที่ 5. หน้า 337-344. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
[16] ศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2549). ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย: ปัญหาสุขภาพคนไทยที่ยังแก้ไม่ตก. วารสาร สาธารณสุขและการพัฒนา. 4(1): 67-79.
[17] อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์; และคณะ. (2549). ผลกระทบของการเสียชีวิตของบุตรต่อความมั่นคงของชีวิตสมรสของคนไทย. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559, จาก https://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/Annual Conference/ConferenceII/Article/Download/Article10.pdf
[18] สันทัด เสริมศรี. (2541). ประชากรศาสตร์ทางสังคม. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิช.
[19] สมยศ ทุ่งหว้า. (2543) ระบบสังคมเกษตร: ข้อเสนอเชิงแนวคิดที่ได้จากการวิจัยในภาคใต้. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.mcc.cmu.ac.th/Seminar/pdf/671.pdf
[20] อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์; และ อรทัย หรูเจริญพรพานิช. (2550). Sex and the City. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/annualconference/conferenceiii/Articles/ Article07.htm
[21] ฝ่ายวิจัยและศูนย์สารสนเทศทางประชากรศาสตร์. (2551). แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559, จาก https://www.cps.chula.ac.th/cps/research_division/ theory/t_birth.html
[22] Shah, N. M., Shah, M. A., & Radovanovic, Z. (1998). Patterns of desired fertility and contraceptive use in Kuwait. International Family Planning Perspectives. 24(3): 133-138.
[23] Livingston, G. (2015). Childlessness falls, family size grows among highly educationed women. Retrieved May 6, 2016, from https://www.pewsocialtrends.org/files/2015/05/2015-05-07_children-ever-born_FINAL.pdf
[24] จงจิตต์ ฤทธิรงค์; และคณะ. (2557, 1 กรกฎาคม). สถานเลี้ยงเด็กช่วยให้คนมีบุตรมากขึ้นจริงหรือ. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 ประชากรและสังคม 2557. หน้า 99-120. กรุงเทพฯ: โรงแรมเอเชีย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต