ปัจจัยที่มีผลต่อค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในประเทศไทย กรณีศึกษาความแตกต่างทางเพศ THE FACTORS AFFECTING HOUSEHOLD ELECTRICITY EXPENSE IN THAILAND A CASE STUDY OF GENDER ISSUE

ผู้แต่ง

  • รัชพันธุ์ เชยจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รติพร ถึงฝั่ง คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ค่าไฟฟ้าของครัวเรือน, ความแตกต่างทางเพศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าของครัวเรือนรวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผล ต่อค่าไฟฟ้าของครัวเรือนที่มีเพศของหัวหน้าครัวเรือนที่แตกต่างกัน โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในระดับครัวเรือน จากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2549 2554 และปี พ.ศ. 2560 ตามลำดับ และใช้สถิติพรรณนาเพื่อแสดงให้เห็นระดับและแนวโน้มค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของครัวเรือน รวมทั้งทดสอบความแตกต่างของค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของครัวเรือนโดยใช้สถิติ t-test, F-test นอกจากนั้นใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าไฟฟ้าของครัวเรือนที่มีเพศของหัวหน้าครัวเรือนที่แตกต่างกัน โดยตัวแปรตามที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าไฟฟ้าต่อเดือนของครัวเรือน ส่วนตัวแปรอิสระมีจำนวนทั้งสิ้น 9 ตัวแปร ประกอบด้วย ตัวแปรทางด้านประชากรของหัวหน้าครัวเรือน ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตัวแปรคุณลักษณะของครัวเรือน ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย จำนวนสมาชิกของครัวเรือน รายได้ของครัวเรือน จำนวนห้องในที่อยู่อาศัย ประเภทที่อยู่อาศัย และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ครัวเรือนครอบครอง โดยกำหนดแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 3 แบบจำลองในแต่ละปีที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเพศชายจะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนเพศหญิงในทุกปีที่ศึกษา ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางกับนโยบายพลังงานไฟฟ้า ควรเพิ่มการรณรงค์เรื่องการประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยเน้นเป้าหมายไปที่ “สตรี” เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้และมีพฤติกรรมในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลง

Downloads

References

Mamita Dash. (2015). An economic analysis of household energy consumption of urban Odisha. International Journal of Science and Research (IJSR), 4, (7).

Melek Yalcintas, & Abidin Kaya. (2017). Roles of income, price and household size on residential electricity consumption: Comparison of Hawaii with similar climate zone states. Energy Reports, 3, 109-118.

Rory V, Jones, & Kevin J. Lomas. (2015). Determinants of high electricity energy demand in UK homes: Socio-economics and dwelling characteristics. Energy and Building, 101, 24-34.

Rory V, Jones, Alba Fuertes, & Kevin J. Lomas. (2015). The socio-economic, dwelling and appliance related factor affecting electricity consumption in domestic building. Renewable and Sustainable Energy Reviews, 43, 901-917.

Dirk Brounen, Nils Kok, & John M. Quigly. (2012). Residential energy use and conservation: Economics and demographics. European Economic Review, 56, 931-945.

Parisa Esmaeilimonakher, Tania Urmee, Trevor Pryor, & Garry Baverstock. (2016). Identifying the determinants of residential electricity consumption for social housing in Perth, Western Australia. Energy and Buildings, 133, 403-413.

จารุพัสตร์ พิชิตานนท์. (2549). ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชพันธุ์ เชยจิตร, และรติพร ถึงฝั่ง. (2557). การศึกษาค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนยากจนในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม, 16, 47-64.

Ratchapan Choiejit, & Ratiporn Teungfung. (2014, January-June). Energy Consumption of Thai Elderly Households. Economics and Public policy Journal, 5(9), 1-15.

Eimear Leahy, & Sean Lyons. (2010). Energy use and appliance ownership in Ireland. Energy Policy, 38, 4265-4279.

Yohanis YG, Mondol JD, Wright A, & Norton B. (2008). Real-life energy use in the UK: how occupancy and dwelling characyeristics affect domestic electricity use. Energy and Building, 40(6), 1053-1059.

Shaojie Zhou, & Fei Teng. (2013). Estimating of urban residential electricity demand in China using household survey data. Energy Policy, 61, 394-402.

Gesche M. Huebner, Ian Hamilton, Zaid Chalbi, David Shipworth, & Tadj Oreszczyn. (2015). Explaining domestic energy consumption-The comparative contribution of building factors, socio-demographics, behaviors and attitudes. Applied Energy, 159, 589-600.

Gesche M. Huebner, David Shipworth, Ian Hamilton, Ziad Chakabi, & Tadj Oreszczyn. (2016). Understanding electricity consumption : A comparative contribution of building factors, socio-demographics, appliances, behaviors and attitudes. Applied Energy, pp. 692-702.

Merve Bedir, Evert Hasselaar, & Laure Itard. (2013). Determinants of electricity consumption in Dutch dwellings. Energy and Buildings, 58, 194-207.

Thomas F. Sanquist, Heather Orr, Bin Shui, & Alvah C. Bittner. (2012). Lifestyle factors in U.S. residential electricity consumption. Energy Policy, 42, 354-364.

Wyatt P. (2013). A dwelling-level investigation into the physical and socio-economic driver of domestic energy consumption in England. Energy Policy, 60, 540-549.

Daniel Wiesmann, Ines Lima Azevedo, Paulo Ferrao, & John E. Fernandez. (2011). Residential electricity consumption in Portugal: Finding from top-down and bottom-up models. Energy Policy, 39, 2772-2779.

Fintan McLoughlin, Aidan Duffy, & Michael Conlon. (2012). Characterizing domestic electricity consumption patterns by dwelling and occupant socio-economic variables: An Irish case study. Energy and Buildings, 48, 240-248.

Hidetoshi Nakagami, Chiharu Murakoshi, & Yumiko Iwafune. (2008). International Comparison of Household Energy Consumption and its Indicator. 2008 ACEEE Summer Study Proceedings. pp. 214-224.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30

How to Cite

เชยจิตร ร. ., & ถึงฝั่ง ร. . (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อค่าไฟฟ้าของครัวเรือนในประเทศไทย กรณีศึกษาความแตกต่างทางเพศ THE FACTORS AFFECTING HOUSEHOLD ELECTRICITY EXPENSE IN THAILAND A CASE STUDY OF GENDER ISSUE. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(26, July-December), 105–119. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/258851